วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2552

บุคลากรของ LD

LD ROAD MAP
กลุ่มที่ 5 : บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
1) สภาพปัจจุบัน
1. บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้สำรวจได้ในปี พ.ศ. 2548 จำนวน 271,815 คน
1.1ได้รับการบริการทางการศึกษา จำนวน 16,928 คน คิดเป็นร้อยละ 6.23
-ได้รับบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม (Early Intervention: EI) 1,869 คน
-ศึกษาอยู่ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและอื่นๆ 15,059 คน
1.2 ไม่ได้รับบริการจำนวน 254,887 คน คิดเป็นร้อยละ 93.71
2. จากสถิติสากล อุบัติการณ์ของการเกิดประชากรที่มีปัญหาทางการเรียนรู้อย่างต่ำที่สุด คือ ร้อยละ ๕ ของจำนวนประชากรทั้งหมด ยังมีบุคคลที่มีการเรียนรู้ผิดปกติตกสำรวจอีกเป็นจำนวนมาก
2) สภาพปัญหาด้านการศึกษา
1. ด้านอุบัติการณ์และสถิติของประชากรที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
1.1 ไม่มี ระบบคัดกรอง และ เครื่องมือในการคัดกรอง ที่มีประสิทธิภาพและทั่วถึง
1.2 ไม่มี หน่วยงานใด จะทำการ สำรวจ จัดเก็บสถิติ ประชากรกลุ่มนี้อย่างจริงจัง ในทุกระดับอายุ ในขอบเขตทั่วประเทศ
2. ด้านแผนพัฒนาการศึกษา
ไม่มี แผนพัฒนาการจัดการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งด้านการบริหารจัดการ กระบวนการ การติดตามตรวจสอบประเมินผล การจัดสรรงบประมาณและทรัพยากร ที่สอดคล้องเหมาะสมกับความต้องการจำเป็นพิเศษ ของ บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ในทุกระดับการศึกษา ทั้งระดับประถมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับอาชีวะศึกษา และ ระดับอุดมศึกษา
ไม่มี ระบบการบริหารจัดการทางการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษ ของ บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ใน โรงเรียนทั่วไป ใน ชุมชนใกล้บ้าน
ไม่มี ระเบียบ ระบุอัตรากำลังครูผู้สอนต่อผู้เรียนที่เป็นบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ที่เหมาะสม
ไม่มี แผน “การเพิ่ม” แผน “การพัฒนา” และ แผน “การบรรจุ” อัตรากำลังบุคลากรครูผู้สอนบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ให้ประชากรที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ในวัยเรียนได้มีบุคลากรครูผู้สอน ที่ต่อเนื่องยั่งยืน
ไม่มี ระเบียบวิธีปฏิบัติ ในการประเมินผลงานเพื่อความก้าวหน้าทางวิชาชีพ ของ บุคลากรวิชาชีพครู ที่มี “ภาระงาน” ในการสอนบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
ไม่มี แผนการจัดสรรงบประมาณ เพื่อให้โรงเรียนทั่วไป หรือ หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ได้มีงบประมาณในการ ปรับแต่ง ต่อเติม ก่อสร้าง อาคารสถานที่ เพื่อ การจัดห้องเรียนและสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษ ของ บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
ไม่มี “กลไก” หรือ “หน่วยงาน” ทางการศึกษา ใน การช่วยเหลือบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ที่ยากจน ซึ่งไม่สามารถจะ “ดูแล” บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ได้ แม้จะมีโรงเรียนใกล้บ้าน
ไม่มี การกำหนด แผน และ ออก ระเบียบวิธีปฏิบัติ ใน การบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการศึกษา ที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาของกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
3. ด้านสิทธิโอกาสทางการศึกษา
3.1 สถานศึกษาที่จัดการศึกษาเรียนร่วมสำหรับบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ มีจำนวนจำกัด และไม่ครอบคลุมทุกระดับการศึกษา
3.3 บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ที่ศึกษาในระบบการศึกษานอกโรงเรียน และการศึกษาเอกชน ไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณค่าใช้จ่ายทางการศึกษา ค่าใช้จ่ายด้านสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา
3.4 บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ส่วนใหญ่ ยังไม่มีโอกาสในระดับการศึกษาสายอาชีพ การฝึกอาชีพ และระดับอุดมศึกษา
4. ด้านเจตคติ ความรู้ ความเข้าใจ
4.1 ผู้ปกครอง “อาย” “ไม่ยอมรับ” หรือ “กลัว” ว่า โรงเรียนจะไม่ยอมรับ จึงไม่เปิดเผยว่ามีลูกเป็นบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ หรือไม่เปิดเผยว่าลูกเป็นบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ โดยเฉพาะบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ที่เข้าอยู่ในระบบโรงเรียนอยู่แล้ว
4.2 ผู้ปกครอง ผู้เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ขาดความเข้าใจในการดูแลช่วยเหลือบุตรหลานที่เป็นบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ และ การพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
4.3 ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลไกการบริหารระดับท้องถิ่น ไม่เข้าใจบริบทและความรับผิดชอบในการ “มีส่วนร่วม” ในการช่วยดูแลและจัดสรรทรัพยากรท้องถิ่นในการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ในเขตพื้นที่
4.4 ครู/ผู้บริหารสถานศึกษาบางส่วน ยัง ไม่มี เจตคติที่ดี ต่อ บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ และครอบครัว
4.5 ไม่มี บุคลากร ที่มีความรู้ด้านการคัดกรองในหน่วยบริการ ทั้งทางการศึกษาและทางสาธารณสุขที่มีความรู้ ความเข้าใจและความชำนาญ
4.6 ไม่มี แหล่งที่จะ สร้างและศึกษา “องค์ความรู้ใหม่” หรือ ผลิต “นวัตกรรม” ในการพัฒนาศักยภาพ และ พัฒนาคุณภาพชีวิต ของบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ให้ทัดเทียมอารยะประเทศ
5. ด้านการจัดการศึกษา
ระดับปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
-ไม่มี “ห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษ” ในโรงเรียนเรียนร่วมทั้งของรัฐและเอกชน
-ขาดแคลน บุคลากรครูผู้สอน และมีการจัดสัดส่วนไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
-ไม่มีโรงเรียนเฉพาะทางสำหรับบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ที่มีความบกพร่องระดับรุนแรง
การศึกษานอกระบบ (โรงเรียน)
-ไม่มี แผน ระบบ ระเบียบ ตลอดจน กระบวนการในการบริหารจัดการทางการศึกษา ที่ สอดคล้อง กับ ความต้องการจำเป็นพิเศษ ของ บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ในส่วน ของ การศึกษานอกโรงเรียน
-ไม่มี ระเบียบ วิธีการงบประมาณ ในการจัดจ้าง ครูอาสา ที่สอดคล้องกับ “ภาระงาน” ในการสอนบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ทั้ง ภาระงาน ใน การสอนวิชาสามัญ และ การสอนวิชาชีพ ที่ เฉพาะเจาะจง สำหรับ กลุ่มบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ซึ่งมี ลักษณะเฉพาะทางธรรมชาติที่แตกต่างไปจากภาระงานในการสอนผู้เรียนกลุ่มอื่นๆ
ระดับอาชีวะศึกษา
ไม่มี สถานศึกษา ที่จะเป็นแหล่งให้ บริการการศึกษาทางสายอาชีพ เพื่อการฝึกฝนทางด้านอาชีพ ให้แก่ บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ในระดับอายุวัยรุ่น
ไม่มี บุคลากร ที่เชี่ยวชาญในการ “สอน” และ “ฝึก” อาชีพ ให้แก่บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
ไม่มี หลักสูตร การอาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
2. 3 ระดับอุดมศึกษา
- ไม่มี ระบบ/กลไก/หน่วยงาน ในการให้บริการช่วยเหลือ ที่สอดคล้องกับ
ความต้องการจำเป็นพิเศษของบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ที่จะคอยให้บริการช่วยเหลือ แก่นิสิตและนักศึกษาที่เป็นบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
-ไม่มี หลักสูตรที่ยืดหยุ่นและหลากหลาย ที่สอดคล้องกับกับธรรมชาติในการเรียนรู้และ
ขีดจำกัดในการเรียนรู้ของบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
-ไม่มี ระบบการรับเข้า นิสิต/นักศึกษา ที่สอดคล้องและยืดหยุ่นกับความต้องการจำเป็นพิเศษของบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
-ขาด บุคลากรวิชาชีพแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ประสาทวิทยาแพทย์ กุมารแพทย์
-ขาดแคลน บุคลากรวิชาชีพนักบำบัด เช่น นักฝึกพูด นักจิตวิทยา นักกิจกรรมบำบัด นักกายภาพบำบัด ฯลฯ
-ขาด บุคลากรวิชาชีพครูสายพันธุ์ใหม่ ที่สอนบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ได้
3) แนวทางการแก้ไข
1. ด้านอุบัติการณ์และสถิติของประชากร ที่เป็นบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
1.1 สร้าง ระบบคัดกรอง และ เครื่องมือในการคัดกรอง ที่ประสิทธิภาพและทั่วถึง
1.2 กำหนด ให้หน่วยงานในเขตพื้นที่ของสำนักบริหารการศึกษาพิเศษ/ศูนย์การศึกษาพิเศษเขตและศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัด ทำงานร่วมกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละพื้นที่ ของ กระทรวงสาธารณสุข/สาธารณสุขจังหวัด สำรวจและจัดเก็บสถิติประชากรที่เป็นบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ทุกระดับอายุและทุกระดับกลุ่มอาการ ในเขตพื้นที่ของตน
1.3 กระทรวงศึกษาธิการ จัดสรรงบประมาณ ให้ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ส.ก.อ.) และ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ส.พ.ฐ.) ร่วมกันจัดทำและดำเนินงานตาม แผนการอบรมพัฒนาบุคลากรเพื่อการคัดกรอง ทั้งในส่วนของ วิชาชีพครู และ ในส่วนของ วิชาชีพแพทย์ และ วิชาชีพนักบำบัด
1.4 ทำการประชาสัมพันธ์ในวงกว้างผ่านสื่อทุกสื่อ เน้นการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโทรทัศน์ เพื่อกระตุ้นให้พ่อแม่ผู้ปกครองนำบุตรหลานที่เป็นบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ออกสู่สังคม และกระตุ้นให้สังคมยอมรับรวมทั้งมีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ในชุมชนของตน
2. ด้านแผนพัฒนาการศึกษา
-จัดทำ แผนพัฒนาการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ที่สอดคล้องเหมาะสมกับความต้องการจำเป็นพิเศษ ของ บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ในทุกระบบและระดับการศึกษา ทั้งระดับปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับอาชีวะศึกษา และ ระดับอุดมศึกษาทั้งในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน
-กระทรวงศึกษาฯ ประกาศ นโยบายการรับนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ใน โรงเรียนทั่วไป ใน ชุมชนใกล้บ้าน ให้ ครอบคลุมทุกเขตพื้นที่การศึกษา
-จัดทำ ระเบียบการจัด “ห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษ” สำหรับการจัดการศึกษาในระบบระดับปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับอาชีวะศึกษา และ ระดับอุดมศึกษา ทั้งในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน
- กำหนดอัตรากำลังครูผู้สอนต่อผู้เรียนที่เป็นบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ใน สัดส่วน ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของบุคคลที่ปัญหาทางการเรียนรู้ คือ กำหนดให้สัดส่วนระหว่างบุคลากรวิชาชีพครูผู้สอนและผู้เรียนที่เป็นบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ อยู่ในอัตราส่วน 1:3-7 หรือ 2:10-15 สำหรับ “ห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษ”
- สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จัดทำ แผนการเพิ่ม/แผนการบรรจุ อัตรากำลังบุคลากรครูผู้สอนบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ สำหรับ ห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษ
-สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จัดทำ แผนการพัฒนาบุคลากรครูผู้สอนบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ของ ห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษ
3. ด้านสิทธิโอกาสทางการศึกษา
3. 1 การจัดการศึกษาในระบบ
- จัดตั้ง ห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษ ภายในระยะเวลา 4 ปีการศึกษา จากปีการศึกษา 2549-2553 ดังนี้
ปีการศึกษา
ห้องเรียนสอนเสริม(ห้อง)
2549 500
2550 700
2551 900
2552 1100
2553 1300
- ดำเนินการ ตาม แผนการพัฒนา บุคลากรวิชาชีพครู ที่ประจำ “ห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษ” ในโรงเรียนทั่วไป ให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและกระบวนการตลอดจนเทคนิคการบริหารจัดการและเทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียนที่เป็นบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ในโรงเรียนทั่วไป ที่เปิด “ห้องเรียนสอนเสริมฯ”
- จัดทำ แผนงบประมาณ เพื่อให้โรงเรียนทั่วไป หรือ หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องมีงบประมาณในการ ปรับปรุง อาคารสถานที่ เพื่อ การจัดห้องเรียนและสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษ ของ บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
- จัดทำ ระเบียบวิธีปฏิบัติ ในการประเมินผลงานเพื่อความก้าวหน้าทางวิชาชีพ ของ บุคลากรวิชาชีพครู ที่มี “ภาระงาน” ในการสอนบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
- จัดให้มี สื่อการเรียนการสอนสำหรับบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ในโรงเรียน ดังต่อไปนี้
-ชุดแก้ไขความบกพร่องทางการอ่าน-เขียน และ CD โปรแกรมพัฒนาทักษะ เพื่อการอ่าน-เขียน
-หนังสือเสียงระบบเดซี่
-ชุดคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
-กล้องถ่ายรูปดิจิตอล
-เครื่องเล่นดีวีดี
-โทรทัศน์สี 12 นิ้ว
-เครื่องบันทึกเสียง MP3
-สื่อสิงอำนวยความสะดวก สื่อ หรือ ความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาอื่นๆ
- จัดตั้ง คณะกรรมการ ที่ประกอบด้วย ตัวแทน จาก หน่วยงานภาครัฐ และ ตัวแทนภาคประชาชน จาก องค์กรผู้ปกครอง ที่เกี่ยวข้อง
-กำหนด “ดัชนี” ชี้วัด ในการกำหนดและประเมิน คุณภาพ/คุณสมบัติ/องค์ประกอบ/มาตรฐาน ของ ห้องสอนเสริมการศึกษาพิเศษ
-กำหนด คุณภาพ/คุณสมบัติ/มาตรฐาน/เกณฑ์ เพื่อการกำหนด “ภาระงาน” กำหนดเกณฑ์ ออกระเบียบการประเมิน “ค่าตอบแทน” และ ระเบียบการประเมินผลงานความก้าวหน้าทางวิชาการวิชาชีพ
3. 2 การศึกษานอกระบบ (โรงเรียน)
- จัดทำ แผนพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียนสำหรับบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
- จัดทำ ระเบียบ วิธีการงบประมาณ ในการจัดจ้าง ครูอาสา ที่สอดคล้องกับ “ภาระงาน” ในการสอนบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ทั้ง ภาระงาน ใน การสอนวิชาสามัญ และ การสอนวิชาชีพ ที่กลุ่มบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ มีลักษณะเฉพาะทางธรรมชาติที่แตกต่างไปจากภาระงานในการสอนผู้เรียนกลุ่มอื่นๆ
- จัด งบประมาณสนับสนุน การจัดจ้างครูอาสา เพื่อการสอนกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ให้แก่ ก.ศ.น.อย่างเป็นการเฉพาะเจาะจง ปีละไม่ต่ำกว่า จังหวัดละ 50 คน
3. 3 ระดับอาชีวศึกษา
-จัดตั้ง “แผนกการอาชีพสำหรับนักเรียน/นักศึกษาที่เป็นบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้” ตามสถาบันการศึกษาระดับอาชีวะศึกษาทั่วไปที่มีอยู่แล้วและมีบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ประสงค์จะเข้ารับบริการ
-จัดให้มี บุคลากร ที่เชี่ยวชาญในการ “สอน” และ “ฝึก” อาชีพ ให้แก่บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ในสถานศึกษาที่เปิดบริการ สอนและฝึกอาชีพแก่บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ อย่างเพียงพอและในสัดส่วนที่เหมาะสมกับความต้องการจำเป็นของบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
-จัดให้มี หลักสูตรการอาชีพ ที่ หลากหลาย และ สอดคล้อง กับ ความต้องการจำเป็นพิเศษ ของบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
3. 4 ระดับอุดมศึกษา
- กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษา ต้องจัดให้มี ระบบ/กลไก/หน่วยงาน ในการให้บริการช่วยเหลือ ที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ที่จะคอยให้บริการช่วยเหลือ แก่นิสิตและนักศึกษาที่เป็นบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
- กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษา ต้องจัดให้มี หลักสูตรที่ยืดหยุ่นและหลากหลาย ที่สอดคล้องกับกับธรรมชาติในการเรียนรู้และขีดจำกัดในการเรียนรู้ของบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
- กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษา ต้องจัดให้มี บุคลากร ที่มีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติแลความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาของบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
- กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษา ต้องจัดให้มี ระบบการรับเข้า นิสิต/นักศึกษา ที่สอดคล้องและยืดหยุ่นกับความต้องการจำเป็นพิเศษของบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
- กำหนดให้ สภาที่ประชุมอธิการบดี /สภาที่ประชุมคณบดีคณะศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย/สภามหาวิทยาลัย-วิทยาลัย รณรงค์ ให้ บุคลากร ของ สถาบันอุดมศึกษา มี ความเชื่อมั่น เห็น ความสำคัญ และ ให้ ความสนใจ ที่จะพัฒนาศักยภาพเพียงบางด้านของบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
- จัดให้มี “สถาบันวิจัย” ตามสถาบันอุดมศึกษาโดยเฉพาะที่มีโรงเรียนแพทย์ ทั้งแบบครบทุกด้าน หรือบางด้าน ตามความถนัด หรือ ตามความพร้อม ของ แต่ละสถาบัน ให้ครบทุกภูมิภาค เพื่อเป็นแหล่งที่จะ สร้างและศึกษา “องค์ความรู้ใหม่” หรือ ผลิต “นวัตกรรม” และ พัฒนาต่อยอดยกระดับ “องค์ความรู้เดิม” ที่จะใช้ในการ ยกระดับศักยภาพ และ พัฒนาคุณภาพชีวิต อันเป็น “องค์ความรู้” ที่ ชุมชน ประชาคม “หน่วยงาน” และ “สถานศึกษา” ที่ให้บริการด้านต่างๆ แก่บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ นอกสถาบันวิจัยฯ สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการยกระดับศักยภาพและคุณภาพชีวิตของบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
- ยกระดับศักยภาพ ของ คณะหรือภาควิชาที่ผลิตบุคลากรทางด้านการบำบัด ให้มีศักยภาพที่จะผลิตนักบำบัด เช่น นักฝึกพูด นักกิจกรรมบำบัด ฯลฯ ได้มากขึ้น
- ปรับหลักสูตร เพิ่ม กระบวนวิชาที่ให้องค์ความรู้เกี่ยวกับบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ โดยให้เป็นกระบวนวิชาบังคับเรียน ใน หลักสูตรการผลิตบุคลากรทุกประเภท เพื่อให้ บุคลากรวิชาชีพต่างๆ อันเป็น “ผลผลิต” ของ สถาบัน มีความรู้ความใจเกี่ยวกับบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ใน บริบทวิชาชีพ ของตน เมื่อบุคลากรนั้นๆ ออกจบจากสถาบันกลับสู่สังคมชุมชน
- ผลิตบุคลากรวิชาชีพแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องเพิ่มปีละไม่ต่ำกว่า 10 คน ได้แก่ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ประสาทวิทยาแพทย์ กุมารแพทย์
- ผลิตนักบำบัด เช่น นักฝึกพูด นักจิตวิทยา นักกิจกรรมบำบัด นักกายภาพบำบัด ฯลฯ ปีละไม่ต่ำกว่าประเภทละ 50 คนขึ้นไป
- ผลิตบุคลากรวิชาชีพครูที่สอนบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ได้ปีละไม่ต่ำกว่า 5,000-10,000 คน
- จัดตั้งกองทุนเพื่อจัดส่งบุคลากรที่จำเป็นไปศึกษาต่อและอบรมเชิงลึก และการอบรมระยะสั้น ในต่างประเทศ
-ในส่วนที่จะเปิดสถาบันวิจัย ๆ ละ 10-15 ทุน ตลอดหลักสูตร ตามความจำเป็นจริงแต่ละด้านของแต่ละสถาบัน
-ในส่วนอบรมดูงานระยะสั้น ทั่วไป จำนวนปีละ 50-100 ทุน
-ในส่วนของ “ห้องสอนเสริมการศึกษาพิเศษ” ให้จัดโควตาให้ บุคลากรครูผู้สอนบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ที่มีผลงานดีเด่น ไป ฝึกอบรมระยะสั้น/เขตพื้นที่ละ ๒ คน/ครั้ง/ปี ช่วงปิดเทอม และเรียนต่อเชิงลึก ปีละ 2-5 ทุน/ปี
-ในส่วนของ “แผนกการอาชีพสำหรับนักเรียน/นักศึกษาที่เป็นบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้” ตามสถาบันการศึกษาระดับอาชีวะศึกษาทั่วไป ให้จัดโควตาศึกษาอบรมระยะสั้นให้แก่บุคลากรครูผู้สอนที่มีผลงานดีเด่น จำนวน 5-10 ทุนต่อปี ศึกษาอบรมเชิงลึกหรือศึกษาต่อ ปีละ 2 -5 ทุน
-ให้จัดโควตาศึกษาอบรมระยะสั้นให้แก่ บุคลากรครูอาสาผู้สอน ที่มีผลงานดีเด่น เกี่ยวกับการจัดการศึกษาของกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ จำนวน 5-10 ทุนต่อปี ศึกษาอบรมเชิงลึกหรือศึกษาต่อ ปีละ 2 -5 ทุน
-ให้จัดโควตาศึกษาอบรมระยะสั้นให้แก่ บุคลากรครูผู้บริหารศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน ทั้งระดับจังหวัดและระดับอำเภอ ที่มี ผลงานดีเด่น เกี่ยวกับการจัดการศึกษาของกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ จำนวน 5-10 ทุนต่อปี ศึกษาอบรมเชิงลึกหรือศึกษาต่อ ปีละ 2 -5 ทุน
- ร่วมกับ องค์กรผู้ปกครอง จัดอบรม องค์กรผู้ปกครอง อบรม ผู้ปกครอง ให้มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลช่วยเหลือบุตรหลานที่เป็นบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ จังหวัดละ 100 คน/ครั้ง/ปี
-ร่วมกับ เขตพื้นที่การศึกษา จัดอบรม ครู/ผู้บริหารสถานศึกษาบางส่วน ให้ ตระหนักรู้ และมี เจตคติที่ดี ต่อ บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ และครอบครัว ให้ทั้ง 175 เขต ใน 76 จังหวัด ปีละ 2 ครั้ง
กลุ่มบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ได้ประมาณการค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นข้อพิจารณา โดยประมาณการณ์ค่าใช้จ่าย ปี 2549 จำนวน 227.46 ล้านบาท ปี 2550 จำนวน 302.36 ล้านบาท ปี2551 จำนวน 352.81 ล้านบาท ปี 2552 จำนวน 305.79 ล้านบาท และปี 2553 จำนวน 45.00 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 1,233.42 ล้านบาท

ไม่มีความคิดเห็น: