วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2552

มอบหมายเดือนมีนาคม 3 อาทิตย์ก่อนสอบ

สวัสดีนักศึกษาโปรแกรมการศึกษาพิเศษและโปรแกรมอินโดจีนทุกท่าน สำหรับนักศึกษาจะเจอกันอีก 3 ครั้งนะครับ
วันที่ 1 มีนาคมทุกคนเข้าร่วมฟังบรรยาย " การจัดการเรียนแบบเรียนร่วมสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ" ณ หอประชุมแห่งชาติลาว สำหรับนักศึกษาปีที่ 3 ทุกเรียนวิชานี้ เวลา 13.00 - 15.30 น.
วันที่ 7 มีนาคม ทางวิชาภาษาลาวเพื่อการศึกษาและภาษาจีนทั้ง 3 วิชา ติดภาระกิจในวิชานี้ ท่านโปรแกรมการศึกษาพิเศษจะมอบหมายงานให้กับนักศึกษาโปรแกรมอินโดจีนทุกคนและนักศึกษาปี 1 ทุกคน เข้าศูนย์ห้องจิตเวชเพื่อสอบถามอาการต่างๆในกลุ่มประเภทต่างๆนะครับ เวลา 08.30 - 12.10 น.
วันที่ 8 มีนาคม นักศึกษาทั้ง 2 โปรแกรม ส่งรายงานเกี่ยวกับ Audio Book พร้อมกับแบบตรวจสอบที่ศูนย์จิตเวช
วันที่ 15 มีนาคม นักศึกษาโปรแกรม 2 โปรแกรม ทบทวนข้อสอบเกี่ยวกับการจัดการศึกษาแบบรวม
วันที่ 24 มีนาคม นักศึกษาไปสอบห้องเรียนที่ อาคาร 9.14.05 - 06 อาจารย์ควบสอบอาจารย์สังกัดโปรแกรมวัดผลเป็นควบคุมสอบ เวลา 09.00 - 11.00 น. ของให้โชคดีนะครับ
*สำหรับผู้ที่ไม่ส่งงานให้ส่งงานก่อน วันที่ 29 มี.ค. - 4 เม.ย. นะครับ ก่อนที่จะส่งเกรดวันที่ 5 เมษายนนี้ รอรับ I ไว้ก่อน

วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

มอบหมายงาน 1

การบ้านสำหรับเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์
สวัสดีนักศึกษาการศึกษาพิเศษปี 3 และอินโดจีนทุกคน ทางคณะการศึกษาและกรมสุขจิต โรงพยาบาลมหาราชและโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา
อาจารย์จะมอบหมายงานดังต่อไปนี้
วันที่ 25 มกราคม 2552 งดการเรียนการสอน 2 วัน เนื่องจากคณะมนุษย์ศาสตร์จัดกิจกรรมนะครับ
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 งดการเรียนการสอน อาจารย์การศึกษาไปทัศนศึกษาและอาจารย์ทางโรงพยาบาลประชุมภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาของกลุ่มเด็กประเภทต่างๆ
สำหรับวันที่ 8 - 9 กุมภาพันธ์ ท่านนักจิตวิทยาศึกษาและอาจารย์ผู้สอนทางด้านบกพร่องสติปัญญา มาศึกษาและเรียนรู้ทางการศึกษาสำหรับเด็กประเภทบกพร่องสติปัญญาและเทคนิคการศึกษาสำหรับเด็กบกพร่องสติปัญญาโดยให้นักศึกษาโปรแกรมภาษาอินโดจีน,นักศึกษาการศึกษาพิเศษปี 3 อาคารเรียน 23 ชั้น 1 อาคารการศึกษาพิเศษนะครับ โดยให้ผู้เรียนบันทึกเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มบกพร่องทางสติปัญญา เป็นผลงานชิ้นงานของตนเองนะครับ แล้วส่งที่ห้องอาจารย์ผู้สอนในวันที่ 9 ก.พ. 2551 นะครับ ถือว่าเป็นวันชดเชย
ใบงานที่ 1 (วันที่ 9 ก.พ. 2552 )
ให้นักศึกษาวิดีทัศน์เรื่อง I am sam บกพร่องสติปัญญา ณ ห้องประชุม 23 ชั้น 3 นะครับ พร้อมรวบรวมส่งที่ห้องนักจิตวิทยา อาคาร 23 ชั้น 2 นะครับ
ใบงานที่ 2 ( 15 ก.พ. 2552 )
ให้นักศึกษาทำใบงานในคาบเรียน IIP และ IEP ด้วยตนเอง โดยอาจารย์การศึกษาและแพทย์จากกรมสุขจิตจะเป็นผู้กำหนดด้วยตนเอง พร้อมทั้งสอบในคาบเรียนนะครับ
ใบงานที่ 3 - 4 ( การบ้าน,งานปฏิบัติ )
- นักศึกษาทำแบบประเมินผลออนไลน์สำหรับเรื่องการบกพร่องต่างๆสำหรัเด็กอายุ 5 - 18 ปีนะครับ พร้อมทั้งพิมพ์ไฟล์ PDF และประเมินด้วยตนเอง ประเมินตามความจริง ส่งวันที่ 15 ก.พ. 52 ( เอกอินโดจีน)
- นักศึกษาจัดทำรายงานกลุ่มที่นักเรียนในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวกับการศึกษาพิเศษ ให้นักศึกษาไปดู Blogsport พร้อมนักศึกษาลงชื่อในการทำรายงานนะครับ นำเสนอวันที่ 15 ก.พ. 52 ( เอกการศึกษาพิเศษ)
ให้นักศึกษาวิดีทัศน์เรื่อง Mercury Rising ออทิสติก ณ ห้องประชุม 23 ชั้น 3 นะครับ พร้อมรวบรวมส่งที่ห้องผู้เชี่ยวชาญการศึกษาพิเศษ อาคาร 23 ชั้น 2 นะครับ ( 2 โปรแกรม ) 22 ก.พ.52 รับงานวันที่ 15 ก.พ.เป็นครั้งสุดท้ายนะครับ

วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2552

เจาะจงความบกพร่องการเรียนรู้

ความบกพร่องทางการเรียนรู้ [Learning Disabilities=L.D.]
เรียบเรียงโดย
ดร. ศรินทร วิทยะศิรินันท์
ปัจจุบันยังไม่มีคำจำกัดความที่ชัดเจนและ เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างสำหรับคำว่าบกพร่องทางการเรียนรู้ [learning disabilities] เนื่องจากการที่ธรรมชาติของศาสตร์สาขาต่างๆที่เกี่ยวนั้นมีความหลากหลายมาก และด้วยเหตุนี้จึงมีคำจำกัดความของคำนี้ไม่ต่ำกว่า 12แบบปรากฏอยู่ในตำราต่างๆ
คำจำกัดความเหล่านี้มีประเด็นตรงกันอยู่บางส่วนดังนี้
1. คนที่เป็น LD.มีความยากลำบาก ปัจจุบันยังไม่มีคำจำกัดความที่ชัดเจนและเป็นที่ยอมรับกันกว้างขวางสำหรับคำว่าความบกพร่องทางการเรียนรู้[Learning Disabilities] เนื่องมาจากการที่ธรรมชาติของศาสตร์สาขาต่างๆที่เกี่ยวข้องนั้นมีความหลากหลายมาก และด้วยเหตุนี้จึงมีคำจำกัดความของคำนี้ไม่ต่ำกว่า 12 แบบปรากฏอยู่ในตำราต่างๆในเรื่องสัมฤทธิ์ผลและการพัฒนาด้านการเรียนวิชาการ มีความขัดแย้งระหว่างศักยภาพในการเรียนรู้ของเขากับสิ่งที่บุคคลนั้นเรียนรู้ได้จริง
2. คนที่เป็น LD. มีพัฒนาการด้านต่างๆ ไม่สอดคล้องกัน (พัฒนาการทางภาษา, พัฒนาการทางร่างกาย, พัฒนาการทางการเรียนรู้ทางวิชาการ, และ/หรือพัฒนาการทางการรับรู้)
3. ปัญหาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดมาจากการขาดโอกาสที่จะได้รับสิ่งแวดล้อมช่วยส่งเสริมหรือกระตุ้นพัฒนาการในวัยเด็ก
4. ปัญหาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดมาจากภาวะปัญญาอ่อนหรือการมีความบกพร่องทางการอารมณ์
อะไรคือสาเหตุของการเป็น LD.
ในปัจจุบันความรู้เกี่ยวกับสาเหตุที่แท้จริงของการเป็น LD.ยังมีน้อยมาก อย่างไรก็ตามได้มีการค้นพบข้อสังเกตโดยทั่วไปมีดังนี้
- เด็กบางคนพัฒนาและมีวุฒิภาวะในอัตราที่ช้ากว่าเด็กในวัยเดียวกัน ดังนั้นเด็กเหล่านี้จึงไม่สามารถทำงานในชั้นเรียนที่ได้รับมอบหมายได้ ความบกพร่องทางการเรียนรู้ประเภทนี้ว่า “ช่องว่างทางวุฒิภาวะ” [maturation lag]
- เด็กบางคนมีการเห็นและการได้ยินเป็นปกติ แต่ตีความภาพและเสียงที่ได้ยินในชีวิตประจำวันผิดพลาดเนื่องจากความบกพร่องบางอย่างในระบบประสาทส่วนกลางซึ่งยังไม่สามารถอธิบายได้
- การได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงก่อนคลอดหรือในช่วงต้นๆ ของชีวิตอาจเป็นสาเหตุของปัญหาการเรียนรู้บางอย่างได้
- เด็กที่เกิดก่อนกำหนดและเด็กที่มีปัญหาทางการแพทย์ในช่วงหลังคลอดหรือวัยทารกก็อาจเป็น LD. ได้
- ความบกพร่องทางการเรียนรู้ดูจะพบต่อเนื่องในครอบครัวหรือตระกูลเดียวกัน ความบกพร่องทางการเรียนรู้บางอย่างจึงอาจเป็นกรรมพันธุ์ก็ได้
- ความบกพร่องทางการเรียนรู้พบมากในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเพราะเด็กชายมีแนวโน้มที่จะมีวุฒิภาวะช้ากว่าเด็กหญิง
- มีการพบว่าความบกพร่องทางการเรียนรู้บางอย่างสัมพันธ์กับการสะกดคำ การออกเสียงและโครงสร้างที่ไม่เป็นระบบของภาษา
มีอะไรบ้างที่เป็นสัญญาณตือนว่าเด็กคนนี้อาจเป็น LD.
เด็กที่เป็นLD. มีลักษณะต่างๆที่หลากหลายมาก ได้แก่ ปัญหาการอ่าน คณิตศาสตร์ ความเข้าใจ ภาษา การเขียน หรือ ความบกพร่องทางการเรียนรู้มักจะกระทบต่อด้านต่างๆ 5 ด้าน ดังนี้
1. ภาษาพูด: มีความล่าช้า, บกพร่อง, และผิดพลาดในการฟังและการพูด
2. ภาษาเขียน: มีความยากลำบากในการอ่าน, การเขียน และ การสะกดคำ
3. เลขคณิต: มีความยากลำบากในการคำนวณ หรือการเข้าใจหลักการพื้นฐานของการคำนวณ
4. การใช้เหตุผล: มีความยากลำบากในการจัดระบบ ประมวลและผสมผสานความคิดความรู้ของตนเองให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
5. ความจำ: มีความยากลำบากในการจดจำข้อมูลและคำสั่งต่างๆ
อาการที่มักสัมพันธ์กับความบกพร่องทางการเรียนรู้
ได้แก่
· ทำข้อสอบที่นั่งทำพร้อมกันทั้งชั้นไม่ได้ดี
· ไม่สามารถแยกแยะขนาด รูปร่าง และ สี
· มีความลำบากในการทำความเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับเวลา
· มีการรับรู้เกี่ยวกับส่วนต่างๆของร่างกายที่ผิดพลาด
· รับรู้สลับทิศทาง เช่น ซ้ายเป็นขวา หรือ บนเป็นล่าง ในการอ่านเขียน
· การเคลื่อนไหวมักเงอะงะ ซุ่มซ่าม
· การประสานสัมพันธ์ระหว่างตา-มือไม่ดี
· อยู่ไม่นิ่ง
· มีความยากลำบากในการคัดลอกตามแบบที่ให้
· ทำงานเสร็จช้ามาก
· ขาดทักษะการจัดระบบข้อมูล หรือการจัดการต่างๆ
· สับสนได้ง่ายกับคำสั่งที่ได้รับ
· มีความยากลำบากในการใช้เหตุผลในเรื่องที่เป็นนามธรรม และ/หรือ การแก้ปัญหาที่เป็นนามธรรม
· การคิดที่ไม่เป็นระบบ
· มักหมกมุ่นอยู่กับเรื่อง หรือความคิดบางอย่างมากเกินไป
· ความจำระยะสั้นหรือระยะยาวไม่ดี
· ผลีผลาม ขาดการคิดใคร่ครวญให้ดีก่อนลงมือกระทำการใดๆ
· มีความอดกลั้นต่ำต่อความไม่ถูกใจ ความคับข้องใจต่างๆ
· เคลื่อนไหวมากผิดปกติระหว่างหลับ
· ความสัมพันธ์กับเพื่อนไม่ดี
· ตื่นเต้นจนเกินเหตุในระหว่างการเล่นร่วมกับกลุ่มเพื่อน
· มีการตัดสินใจทางสังคมที่ไม่เหมาะกับวัย เช่น พัฒนาการทางการใช้กล้ามเนื้อ พัฒนาการทางภาษา
· มักมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์
· ไม่สามารถตระหนักถึงผลที่เกิดจากการกระทำของตน
· เชื่อคนง่ายเกินไป ถูกเพื่อนฝูงชักจูงได้ง่าย
· อารมณ์และการตอบสนองต่อสิ่งต่างๆแปรปรวนจนเกินควร
· ปรับตัวต่อการเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมใหม่ๆได้ยาก
· วอกแวกง่ายมาก จดจ่อในงานได้ยาก
· มีความยากลำบากในการตัดสินใจ
· ไม่ชัดเจนว่าถนัดมือไหนกันแน่ หรือใช้ได้ทั้งสองมือ
· มีความยากลำบากในการทำงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับการจัด หรือเรียงลำดับต่างๆ
ในการพิจารณาอาการข้างต้นนี้ ควรนึกถึงประเด็นต่อไปนี้อยู่ด้วยเสมอ
นั่นคือ
-ไม่มีใครมีอาการทั้งหมดที่กล่าวมานี้ในเพียงคนเดียว
-ในหมู่คนที่เป็นLD.ด้วยกันนั้น อาการบางอาการก็พบบ่อยกว่าอาการอื่น
-คนทั่วไปทุกๆคนก็มีอาการข้างต้นสัก2-3ข้อ ในระดับหนึ่งเป็นธรรมดา
-จำนวนอาการที่พบในเด็กแต่ละคนไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ว่า ความบกพร่องทางการเรียนรู้ของเด็กผู้นั้นจะรุนแรงหรือมีเพียงเล็กน้อย สิ่งสำคัญอยู่ที่ว่าพฤติกรรมนั้นเป็นอย่างต่อเนื่องและพบร่วมกันเป็นกลุ่มของอาการหรือไม่ต่างหาก
ผู้ปกครองควรทำอย่างไรถ้าสงสัยว่าลูกหลานเป็นLD.
ผู้ปกครองควรติดต่อโรงเรียนของลูกและขอให้มีการทดสอบและประเมินเด็ก หากผลการทดสอบบ่งชี้ว่า เด็กจำเป็นต้องได้รับบริการการศึกษาพิเศษ คณะทำงานด้านการประเมินของทางโรงเรียน (ซึ่งทำหน้าที่วางแผนและกำหนดชั้นเรียนให้แก่เด็ก) จะประชุมกันเพื่อพัฒนาแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล(IEP) ที่ตอบสนองความต้องการของเด็ก ใน IEP จะมีรายละเอียดของแผนการศึกษาที่มุ่งซ่อมเสริมและทดแทนส่วนที่บกพร่องของเด็ก
ในขณะเดียวกัน ผู้ปกครองควรพาเด็กไปพบแพทย์เด็กประจำครอบครัวเพื่อรับการตรวจร่างกายอย่างละเอียด เด็กควรได้รับการตรวจร่างกายเพื่อค้นหาสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาในชั้นเรียนซึ่งอาจแก้ไขให้ปกติได้ เช่น สายตาสั้น การได้ยินบกพร่อง เป็นต้น
การเป็น LD. มีผลกระทบต่อผู้ปกครองของเด็กอย่างไร
ผลงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า ปฏิกิริยาของผู้ปกครองต่อผลการวิจัยว่าเด็กเป็น LD. นั้นรุนแรงเด่นชัดกว่า การที่เด็กมีความบกพร่องด้านอื่นๆ โปรดนึกถึงเด็กที่ปัญญาอ่อนระดับรุนแรง หรือ พิการทางร่างกาย ผู้ปกครองจะเริ่มตระหนักถึงปัญหาตั้งแต่ภายในสัปดาห์แรกๆที่ทารกเกิดมา อย่างไรก็ตาม พัฒนาการในวัยอนุบาลของเด็กที่เป็น LD. นั้นมักไม่แน่นอน และผู้ปกครองมักจะไม่ค่อยได้รู้สึกว่าเด็กมีปัญหา เมื่อได้รับการแจ้งว่าเด็กมีปัญหาจากทางโรงเรียนในระดับประถม ปฏิกิริยาอันดับแรกของผู้ปกครองโดยทั่วไปคือ การปฏิเสธว่าเด็กไม่ได้มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ แน่นอนว่าการปฏิเสธเช่นนี้ไม่ส่งผลดีแก่เด็กเลย พ่อมักจะมีแนวโน้มที่จะคงอยู่ในขั้นปฏิเสธนี้เป็นเวลานาน เพราะพ่อมักจะไม่ค่อยได้เข้าเกี่ยวข้องกับความคับข้องใจและความล้มเหลวที่เกิดขึ้นเป็นประจำอยู่ทุกวันในชีวิตประจำวันของเด็ก
Eleanor Whitehead อธิบายว่าผู้ปกครองของเด็กที่เป็น LD. มักจะต้องผ่านขั้นตอนทางอารมณ์ต่างๆ ก่อนจะยอมรับเด็กได้อย่างแท้จริง ขั้นตอนเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำนายได้แน่นอน ผู้ปกครองแต่ละคนเปลี่ยนจากขั้นตอนหนึ่งไปอีกขั้นตอนอย่างไม่มีแบบแผนที่แน่นอน ผู้ปกครองบางคนอาจข้ามขั้นตอนบางขั้นตอนไป ขณะที่บางคนก็คงอยู่ในขั้นนั้นเป็นเวลานานมาก ขั้นตอนเหล่านี้ได้แก่
*การปฏิเสธความจริง(Denial) : “ลูกไม่ได้มีอะไรผิดปกติสักหน่อย” “เล็กๆฉันก็เป็นอย่างนี้เหมือนกัน-ไม่ต้องห่วงหรอก!แล้วพอโตเขาก็หายเองแหละ”
*การกล่าวโทษ(blame) : “คุณโอ๋แกมากเกินไป!” “คุณตั้งความหวังกับแกสูงเกินไป” “ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้ถ่ายทอดมาจากตระกูลผมแน่ๆ”
*การหวาดหลัว(fear) : บางทีเขาอาจไม่ได้บอกปัญหาที่แท้จริงกับเราก็ได้!” “มันแย่กว่าที่เขาบอกหรือเปล่า?” “ลูกจะมีโอกาสแต่งงานหรือเปล่า?” “เขาจะเข้ามหาวิทยาลัยได้หรือเปล่า?” “เขาจะเรียนจบหรือเปล่า?”
*การอิจฉา(envy) : “ทำไมเขาถึงไม่เหมือนพี่น้อง หรือ ลูกพี่ลูกน้องของเขา”
*การคร่ำครวญ (mourning) : “เขาอาจประสบความสำเร็จก็ได้ ถ้าไม่ใช่เพราะไอ้เจ้าความบกพร่องทางการเรียนรู้นี่!”
*การต่อรอง (bargaining) : “รอดูไปจนถึงปีหน้าก่อนแล้วกัน!” “บางทีปัญหานี้อาจค่อยๆดีขึ้นถ้าเราย้ายบ้าน/โรงเรียน หรือถ้าเขาไปเข้าแค้มป์ หรือ..............ฯลฯ
*การโกรธ (anger) : “ครูนี่ไม่รู้อะไรเลย!” “ฉันเกลียดคนแถวนี้, โรงเรียนนี้ ....ครูคนนี้”
*การรู้สึกผิด (guilt) : “แม่ฉันพูดถูก ฉันควรใช้ผ้าอ้อมแบบผ้าเมื่อตอนเขายังเป็นทารก” “ฉันไม่ควรออกไปทำงานเมื่อตอนเขายังไม่ครบขวบเลย” “ ฉันกำลังถูกฟ้าดินลงโทษและผลก็คือลูกของฉันกำลังมีปัญหา”
*การแยกตัวออกจากสังคม(isolation) : “ไม่มีใครอีกแล้วที่จะเข้าใจและแคร์ลูกของฉัน” “มีแต่ลูกกับแม่เท่านั้นในโลกนี้ ไม่มีใครอีกแล้วที่เข้าใจเรา”
*การวิ่งหาความช่วยเหลือไปเรื่อยๆ (flight) : “ลองวิธีการรักษาแบบใหม่นี้กันเถอะ โตนาฮิว บอกว่ามันได้ผล!” “เราจะไปคลินิกโน้นทีคลินิกนี้ที จนกว่าจะมีใครสักคนบอกในสิ่งที่ฉันอยากได้ยิน”
ในทำนองเดียวกัน แบบแผนของปฏิกิริยาเหล่านี้ก็ไม่แน่นอน ยิ่งพ่อและแม่อยู่ในขั้นตอนที่แตกต่างและขัดแย้งกันในช่วงเวลาเดียวกัน เช่น การกล่าวโทษ vs. การปฏิเสธ การโกรธ vs. การรู้สึกผิด เป็นต้น บ่อยครั้งเท่าใดสถานการณ์ก็จะเลวร้ายยิ่งขึ้นเท่านั้น สภาพเช่นนี้สามารถทำให้การสื่อสารระหว่างพ่อแม่ลำบากยุ่งยากยิ่งขึ้น
ข่าวดีก็คือ หากได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสม เด็กที่เป็นLD.ส่วนใหญ่สามารถพัฒนาไปได้มากทีเดียว มีผู้ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จจำนวนมาก ทั้งที่เป็นทนายความ ผู้บริหารระดับสูง แพทย์ ครู ฯลฯ ผู้ซึ่งมีความบกพร่องทางการเรียนรู้ แต่สามารถเอาชนะข้อบกพร่องของตนเองได้ และประสบความสำเร็จในชีวิต ในปัจจุบันด้วยการศึกษาพิเศษและอุปกรณ์การสอนที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษต่างๆมากมาย เด็กที่เป็น LD.สามารถได้รับความช่วยเหลือตั้งแต่เนิ่นๆ
รายชื่อคนที่ประสบความสำเร็จทั้งๆที่เป็นLD. ได้แก่ แชร์, ธอมัส เอดิสัน, อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์, โมซาร์ต, บรูซ เจนเนอร์ และอื่นๆอีกมากมาย
คำแนะนำสำหรับผู้ปกครองของเด็กที่เป็น LD.
1) หาเวลาที่จะฟังลูกให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (พยายามอย่างจริงจังที่จะเข้าใจลูกได้จริงๆ)
2) แสดงความรักต่อลูกด้งการสัมผัส การกอด การสะกิดสะเกา และการกอดปล้ำกับลูก (เด็กประเภทนี้ต้องการการสัมผัสทางกายมากเป็นพิเศษ)
3) มองหาและส่งเสริมสนับสนุนในสิ่งที่ลูกถนัด สนใจ และมีความสามารถ ช่วยให้ลูกใช้คุณสมบัติ และความสามารถเหล่านั้นเพื่อชดเชยความจำกัดหรือข้อบกพร่องใดๆที่เขามี
4) ให้รางวัลลูกด้วยการชมเชย คำพูดที่น่าชื่นใจ รอยยิ้ม และการตบหลังเบาๆ บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
5) ยอมรับเขาตามที่เขาเป็นจริงๆ และยอมรับศักยภาพที่จะเติบโตและพัฒนาของเขาอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงเมื่อตั้งความคาดหวังและตั้งข้อเรียกร้องจากเขา
6) พยายามดึงให้เขามีส่วนร่วมในการกำหนดกฎระเบียบ กิจวัตรประจำวัน กำหนดการทำกิจกรรมต่างๆ ของครอบครัว
7) บอกให้ลูกรู้เมื่อเขาประพฤติตัวไม่เหมาะสม และอธิบายว่าคุณรู้สึกอย่างไรกับการกระทำของเขา จากนั้นให้เขาเสนอวิธีการประพฤติตัวที่ยอมรับได้มากกว่านี้
8) ช่วยลูกแก้ไขข้อผิดพลาดของงานที่ทำด้วยการทำให้ดู สาธิตว่าควรจะทำอย่างไร อย่ากระแนะกระแหนลูก!
9) ให้ลูกรับผิดชอบงานบ้านและหน้าที่ในครอบครัวตามสมควร ทุกครั้งที่เป็นไปได้
10) ฝีกให้เขามีค่าขนมแต่เนิ่นๆ เท่าที่จะทำได้ และช่วยเขาวางแผนการใช้จ่ายในวงเงินที่ได้รับนั้น
11) จัดหาของเล่น เกม รวมทั้งจัดโอกาสในการทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวต่างๆที่จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของลูก
12) อ่านนิทาน/นิยายสนุกๆให้ลูกฟัง และ อ่านร่วมกับลูกเมื่อลูกเริ่มโตขึ้น กระตุ้นให้ลูกถามคำถาม พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังหรืออ่านไป เล่าเรื่องที่ฟังหรืออ่านไป และอ่านเรื่องนั้นซ้ำอีกรอบหนึ่ง
13) ช่วยให้ลูกสามารถมีสมาธิจดจ่อกับงานที่ทำได้ดีขึ้น โดยลดสิ่งรบกวนต่างๆรอบตัวที่จะดึงความสนใจเขาออกงานให้เหลือน้อยที่สุด เช่น จัดที่นั่งหรืออ่านหนังสือ และเล่นให้โดยเฉพาะ
14) อย่าวิตกจริตกับคะแนนสอบ! เรื่องสำคัญอยู่ที่ลูกกำลังพัฒนาไปตามกำลังของเขา และได้รับรางวัลในการที่เขาทำเช่นนั้นหรือไม่
15) พาลูกไปห้องสมุด และ สนับสนุนให้ลูกเลือกและยืมหนังสือกลับไปอ่านตามความสนใจของเขา ให้เขาได้เล่าถึงเรื่องที่อ่านมาให้คุณฟัง จัดหาหนังสือที่น่าสนใจ และอุปกรณ์การอ่านไว้ในบ้าน
16) ช่วยลูกพัฒนาความรู้สึกนับถือตนเอง และแข่งขันกับตนเอง แทนที่จะไปเทียบตนเองกับคนอื่น
17) ยืนยันหนักแน่นว่าลูกจะต้องให้ความร่วมมือทางสังคมโดยการเล่น การช่วยเหลือและการบริการผู้อื่นในครอบครัว และชุมชน
18) ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูก โดยการอ่าน และพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสนใจ พูดคุยและเล่าถึงสิ่งที่คุณอ่านหรือคิดเกี่ยวกับสิ่งที่คุณอ่านอยู่
19) อย่าลังเลที่จะปรึกษาครู หรือ ผู้เชี่ยวชาญอื่นๆเมื่อคุณรู้สึกต้องการความช่วยเหลือ เพื่อที่คุณจะเข้าจำได้ดียิ่งขึ้นว่าควรจะทำอย่างไรเพื่อช่วยลูกของคุณให้เรียนรู้ได้
www.autisticthailand.com/sthaiparentscouncil/LD/LDcontent/LDindex.htm

บุคลากรของ LD

LD ROAD MAP
กลุ่มที่ 5 : บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
1) สภาพปัจจุบัน
1. บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้สำรวจได้ในปี พ.ศ. 2548 จำนวน 271,815 คน
1.1ได้รับการบริการทางการศึกษา จำนวน 16,928 คน คิดเป็นร้อยละ 6.23
-ได้รับบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม (Early Intervention: EI) 1,869 คน
-ศึกษาอยู่ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและอื่นๆ 15,059 คน
1.2 ไม่ได้รับบริการจำนวน 254,887 คน คิดเป็นร้อยละ 93.71
2. จากสถิติสากล อุบัติการณ์ของการเกิดประชากรที่มีปัญหาทางการเรียนรู้อย่างต่ำที่สุด คือ ร้อยละ ๕ ของจำนวนประชากรทั้งหมด ยังมีบุคคลที่มีการเรียนรู้ผิดปกติตกสำรวจอีกเป็นจำนวนมาก
2) สภาพปัญหาด้านการศึกษา
1. ด้านอุบัติการณ์และสถิติของประชากรที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
1.1 ไม่มี ระบบคัดกรอง และ เครื่องมือในการคัดกรอง ที่มีประสิทธิภาพและทั่วถึง
1.2 ไม่มี หน่วยงานใด จะทำการ สำรวจ จัดเก็บสถิติ ประชากรกลุ่มนี้อย่างจริงจัง ในทุกระดับอายุ ในขอบเขตทั่วประเทศ
2. ด้านแผนพัฒนาการศึกษา
ไม่มี แผนพัฒนาการจัดการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งด้านการบริหารจัดการ กระบวนการ การติดตามตรวจสอบประเมินผล การจัดสรรงบประมาณและทรัพยากร ที่สอดคล้องเหมาะสมกับความต้องการจำเป็นพิเศษ ของ บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ในทุกระดับการศึกษา ทั้งระดับประถมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับอาชีวะศึกษา และ ระดับอุดมศึกษา
ไม่มี ระบบการบริหารจัดการทางการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษ ของ บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ใน โรงเรียนทั่วไป ใน ชุมชนใกล้บ้าน
ไม่มี ระเบียบ ระบุอัตรากำลังครูผู้สอนต่อผู้เรียนที่เป็นบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ที่เหมาะสม
ไม่มี แผน “การเพิ่ม” แผน “การพัฒนา” และ แผน “การบรรจุ” อัตรากำลังบุคลากรครูผู้สอนบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ให้ประชากรที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ในวัยเรียนได้มีบุคลากรครูผู้สอน ที่ต่อเนื่องยั่งยืน
ไม่มี ระเบียบวิธีปฏิบัติ ในการประเมินผลงานเพื่อความก้าวหน้าทางวิชาชีพ ของ บุคลากรวิชาชีพครู ที่มี “ภาระงาน” ในการสอนบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
ไม่มี แผนการจัดสรรงบประมาณ เพื่อให้โรงเรียนทั่วไป หรือ หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ได้มีงบประมาณในการ ปรับแต่ง ต่อเติม ก่อสร้าง อาคารสถานที่ เพื่อ การจัดห้องเรียนและสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษ ของ บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
ไม่มี “กลไก” หรือ “หน่วยงาน” ทางการศึกษา ใน การช่วยเหลือบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ที่ยากจน ซึ่งไม่สามารถจะ “ดูแล” บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ได้ แม้จะมีโรงเรียนใกล้บ้าน
ไม่มี การกำหนด แผน และ ออก ระเบียบวิธีปฏิบัติ ใน การบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการศึกษา ที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาของกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
3. ด้านสิทธิโอกาสทางการศึกษา
3.1 สถานศึกษาที่จัดการศึกษาเรียนร่วมสำหรับบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ มีจำนวนจำกัด และไม่ครอบคลุมทุกระดับการศึกษา
3.3 บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ที่ศึกษาในระบบการศึกษานอกโรงเรียน และการศึกษาเอกชน ไม่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณค่าใช้จ่ายทางการศึกษา ค่าใช้จ่ายด้านสื่อ สิ่งอำนวยความสะดวก บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา
3.4 บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ส่วนใหญ่ ยังไม่มีโอกาสในระดับการศึกษาสายอาชีพ การฝึกอาชีพ และระดับอุดมศึกษา
4. ด้านเจตคติ ความรู้ ความเข้าใจ
4.1 ผู้ปกครอง “อาย” “ไม่ยอมรับ” หรือ “กลัว” ว่า โรงเรียนจะไม่ยอมรับ จึงไม่เปิดเผยว่ามีลูกเป็นบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ หรือไม่เปิดเผยว่าลูกเป็นบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ โดยเฉพาะบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ที่เข้าอยู่ในระบบโรงเรียนอยู่แล้ว
4.2 ผู้ปกครอง ผู้เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ขาดความเข้าใจในการดูแลช่วยเหลือบุตรหลานที่เป็นบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ และ การพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
4.3 ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลไกการบริหารระดับท้องถิ่น ไม่เข้าใจบริบทและความรับผิดชอบในการ “มีส่วนร่วม” ในการช่วยดูแลและจัดสรรทรัพยากรท้องถิ่นในการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ในเขตพื้นที่
4.4 ครู/ผู้บริหารสถานศึกษาบางส่วน ยัง ไม่มี เจตคติที่ดี ต่อ บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ และครอบครัว
4.5 ไม่มี บุคลากร ที่มีความรู้ด้านการคัดกรองในหน่วยบริการ ทั้งทางการศึกษาและทางสาธารณสุขที่มีความรู้ ความเข้าใจและความชำนาญ
4.6 ไม่มี แหล่งที่จะ สร้างและศึกษา “องค์ความรู้ใหม่” หรือ ผลิต “นวัตกรรม” ในการพัฒนาศักยภาพ และ พัฒนาคุณภาพชีวิต ของบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ให้ทัดเทียมอารยะประเทศ
5. ด้านการจัดการศึกษา
ระดับปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
-ไม่มี “ห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษ” ในโรงเรียนเรียนร่วมทั้งของรัฐและเอกชน
-ขาดแคลน บุคลากรครูผู้สอน และมีการจัดสัดส่วนไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
-ไม่มีโรงเรียนเฉพาะทางสำหรับบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ที่มีความบกพร่องระดับรุนแรง
การศึกษานอกระบบ (โรงเรียน)
-ไม่มี แผน ระบบ ระเบียบ ตลอดจน กระบวนการในการบริหารจัดการทางการศึกษา ที่ สอดคล้อง กับ ความต้องการจำเป็นพิเศษ ของ บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ในส่วน ของ การศึกษานอกโรงเรียน
-ไม่มี ระเบียบ วิธีการงบประมาณ ในการจัดจ้าง ครูอาสา ที่สอดคล้องกับ “ภาระงาน” ในการสอนบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ทั้ง ภาระงาน ใน การสอนวิชาสามัญ และ การสอนวิชาชีพ ที่ เฉพาะเจาะจง สำหรับ กลุ่มบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ซึ่งมี ลักษณะเฉพาะทางธรรมชาติที่แตกต่างไปจากภาระงานในการสอนผู้เรียนกลุ่มอื่นๆ
ระดับอาชีวะศึกษา
ไม่มี สถานศึกษา ที่จะเป็นแหล่งให้ บริการการศึกษาทางสายอาชีพ เพื่อการฝึกฝนทางด้านอาชีพ ให้แก่ บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ในระดับอายุวัยรุ่น
ไม่มี บุคลากร ที่เชี่ยวชาญในการ “สอน” และ “ฝึก” อาชีพ ให้แก่บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
ไม่มี หลักสูตร การอาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
2. 3 ระดับอุดมศึกษา
- ไม่มี ระบบ/กลไก/หน่วยงาน ในการให้บริการช่วยเหลือ ที่สอดคล้องกับ
ความต้องการจำเป็นพิเศษของบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ที่จะคอยให้บริการช่วยเหลือ แก่นิสิตและนักศึกษาที่เป็นบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
-ไม่มี หลักสูตรที่ยืดหยุ่นและหลากหลาย ที่สอดคล้องกับกับธรรมชาติในการเรียนรู้และ
ขีดจำกัดในการเรียนรู้ของบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
-ไม่มี ระบบการรับเข้า นิสิต/นักศึกษา ที่สอดคล้องและยืดหยุ่นกับความต้องการจำเป็นพิเศษของบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
-ขาด บุคลากรวิชาชีพแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ประสาทวิทยาแพทย์ กุมารแพทย์
-ขาดแคลน บุคลากรวิชาชีพนักบำบัด เช่น นักฝึกพูด นักจิตวิทยา นักกิจกรรมบำบัด นักกายภาพบำบัด ฯลฯ
-ขาด บุคลากรวิชาชีพครูสายพันธุ์ใหม่ ที่สอนบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ได้
3) แนวทางการแก้ไข
1. ด้านอุบัติการณ์และสถิติของประชากร ที่เป็นบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
1.1 สร้าง ระบบคัดกรอง และ เครื่องมือในการคัดกรอง ที่ประสิทธิภาพและทั่วถึง
1.2 กำหนด ให้หน่วยงานในเขตพื้นที่ของสำนักบริหารการศึกษาพิเศษ/ศูนย์การศึกษาพิเศษเขตและศูนย์การศึกษาพิเศษจังหวัด ทำงานร่วมกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละพื้นที่ ของ กระทรวงสาธารณสุข/สาธารณสุขจังหวัด สำรวจและจัดเก็บสถิติประชากรที่เป็นบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ทุกระดับอายุและทุกระดับกลุ่มอาการ ในเขตพื้นที่ของตน
1.3 กระทรวงศึกษาธิการ จัดสรรงบประมาณ ให้ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ส.ก.อ.) และ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ส.พ.ฐ.) ร่วมกันจัดทำและดำเนินงานตาม แผนการอบรมพัฒนาบุคลากรเพื่อการคัดกรอง ทั้งในส่วนของ วิชาชีพครู และ ในส่วนของ วิชาชีพแพทย์ และ วิชาชีพนักบำบัด
1.4 ทำการประชาสัมพันธ์ในวงกว้างผ่านสื่อทุกสื่อ เน้นการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโทรทัศน์ เพื่อกระตุ้นให้พ่อแม่ผู้ปกครองนำบุตรหลานที่เป็นบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ออกสู่สังคม และกระตุ้นให้สังคมยอมรับรวมทั้งมีส่วนร่วมในการดูแลช่วยเหลือบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ในชุมชนของตน
2. ด้านแผนพัฒนาการศึกษา
-จัดทำ แผนพัฒนาการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ที่สอดคล้องเหมาะสมกับความต้องการจำเป็นพิเศษ ของ บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ในทุกระบบและระดับการศึกษา ทั้งระดับปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับอาชีวะศึกษา และ ระดับอุดมศึกษาทั้งในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน
-กระทรวงศึกษาฯ ประกาศ นโยบายการรับนักเรียนที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ใน โรงเรียนทั่วไป ใน ชุมชนใกล้บ้าน ให้ ครอบคลุมทุกเขตพื้นที่การศึกษา
-จัดทำ ระเบียบการจัด “ห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษ” สำหรับการจัดการศึกษาในระบบระดับปฐมวัยและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับอาชีวะศึกษา และ ระดับอุดมศึกษา ทั้งในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน
- กำหนดอัตรากำลังครูผู้สอนต่อผู้เรียนที่เป็นบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ใน สัดส่วน ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นของบุคคลที่ปัญหาทางการเรียนรู้ คือ กำหนดให้สัดส่วนระหว่างบุคลากรวิชาชีพครูผู้สอนและผู้เรียนที่เป็นบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ อยู่ในอัตราส่วน 1:3-7 หรือ 2:10-15 สำหรับ “ห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษ”
- สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จัดทำ แผนการเพิ่ม/แผนการบรรจุ อัตรากำลังบุคลากรครูผู้สอนบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ สำหรับ ห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษ
-สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จัดทำ แผนการพัฒนาบุคลากรครูผู้สอนบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ของ ห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษ
3. ด้านสิทธิโอกาสทางการศึกษา
3. 1 การจัดการศึกษาในระบบ
- จัดตั้ง ห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษ ภายในระยะเวลา 4 ปีการศึกษา จากปีการศึกษา 2549-2553 ดังนี้
ปีการศึกษา
ห้องเรียนสอนเสริม(ห้อง)
2549 500
2550 700
2551 900
2552 1100
2553 1300
- ดำเนินการ ตาม แผนการพัฒนา บุคลากรวิชาชีพครู ที่ประจำ “ห้องเรียนสอนเสริมการศึกษาพิเศษ” ในโรงเรียนทั่วไป ให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและกระบวนการตลอดจนเทคนิคการบริหารจัดการและเทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสำหรับผู้เรียนที่เป็นบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ในโรงเรียนทั่วไป ที่เปิด “ห้องเรียนสอนเสริมฯ”
- จัดทำ แผนงบประมาณ เพื่อให้โรงเรียนทั่วไป หรือ หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องมีงบประมาณในการ ปรับปรุง อาคารสถานที่ เพื่อ การจัดห้องเรียนและสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษ ของ บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
- จัดทำ ระเบียบวิธีปฏิบัติ ในการประเมินผลงานเพื่อความก้าวหน้าทางวิชาชีพ ของ บุคลากรวิชาชีพครู ที่มี “ภาระงาน” ในการสอนบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
- จัดให้มี สื่อการเรียนการสอนสำหรับบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ในโรงเรียน ดังต่อไปนี้
-ชุดแก้ไขความบกพร่องทางการอ่าน-เขียน และ CD โปรแกรมพัฒนาทักษะ เพื่อการอ่าน-เขียน
-หนังสือเสียงระบบเดซี่
-ชุดคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
-กล้องถ่ายรูปดิจิตอล
-เครื่องเล่นดีวีดี
-โทรทัศน์สี 12 นิ้ว
-เครื่องบันทึกเสียง MP3
-สื่อสิงอำนวยความสะดวก สื่อ หรือ ความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาอื่นๆ
- จัดตั้ง คณะกรรมการ ที่ประกอบด้วย ตัวแทน จาก หน่วยงานภาครัฐ และ ตัวแทนภาคประชาชน จาก องค์กรผู้ปกครอง ที่เกี่ยวข้อง
-กำหนด “ดัชนี” ชี้วัด ในการกำหนดและประเมิน คุณภาพ/คุณสมบัติ/องค์ประกอบ/มาตรฐาน ของ ห้องสอนเสริมการศึกษาพิเศษ
-กำหนด คุณภาพ/คุณสมบัติ/มาตรฐาน/เกณฑ์ เพื่อการกำหนด “ภาระงาน” กำหนดเกณฑ์ ออกระเบียบการประเมิน “ค่าตอบแทน” และ ระเบียบการประเมินผลงานความก้าวหน้าทางวิชาการวิชาชีพ
3. 2 การศึกษานอกระบบ (โรงเรียน)
- จัดทำ แผนพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียนสำหรับบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
- จัดทำ ระเบียบ วิธีการงบประมาณ ในการจัดจ้าง ครูอาสา ที่สอดคล้องกับ “ภาระงาน” ในการสอนบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ทั้ง ภาระงาน ใน การสอนวิชาสามัญ และ การสอนวิชาชีพ ที่กลุ่มบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ มีลักษณะเฉพาะทางธรรมชาติที่แตกต่างไปจากภาระงานในการสอนผู้เรียนกลุ่มอื่นๆ
- จัด งบประมาณสนับสนุน การจัดจ้างครูอาสา เพื่อการสอนกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ให้แก่ ก.ศ.น.อย่างเป็นการเฉพาะเจาะจง ปีละไม่ต่ำกว่า จังหวัดละ 50 คน
3. 3 ระดับอาชีวศึกษา
-จัดตั้ง “แผนกการอาชีพสำหรับนักเรียน/นักศึกษาที่เป็นบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้” ตามสถาบันการศึกษาระดับอาชีวะศึกษาทั่วไปที่มีอยู่แล้วและมีบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ประสงค์จะเข้ารับบริการ
-จัดให้มี บุคลากร ที่เชี่ยวชาญในการ “สอน” และ “ฝึก” อาชีพ ให้แก่บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ในสถานศึกษาที่เปิดบริการ สอนและฝึกอาชีพแก่บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ อย่างเพียงพอและในสัดส่วนที่เหมาะสมกับความต้องการจำเป็นของบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
-จัดให้มี หลักสูตรการอาชีพ ที่ หลากหลาย และ สอดคล้อง กับ ความต้องการจำเป็นพิเศษ ของบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
3. 4 ระดับอุดมศึกษา
- กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษา ต้องจัดให้มี ระบบ/กลไก/หน่วยงาน ในการให้บริการช่วยเหลือ ที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ที่จะคอยให้บริการช่วยเหลือ แก่นิสิตและนักศึกษาที่เป็นบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
- กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษา ต้องจัดให้มี หลักสูตรที่ยืดหยุ่นและหลากหลาย ที่สอดคล้องกับกับธรรมชาติในการเรียนรู้และขีดจำกัดในการเรียนรู้ของบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
- กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษา ต้องจัดให้มี บุคลากร ที่มีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติแลความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาของบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
- กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษา ต้องจัดให้มี ระบบการรับเข้า นิสิต/นักศึกษา ที่สอดคล้องและยืดหยุ่นกับความต้องการจำเป็นพิเศษของบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
- กำหนดให้ สภาที่ประชุมอธิการบดี /สภาที่ประชุมคณบดีคณะศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย/สภามหาวิทยาลัย-วิทยาลัย รณรงค์ ให้ บุคลากร ของ สถาบันอุดมศึกษา มี ความเชื่อมั่น เห็น ความสำคัญ และ ให้ ความสนใจ ที่จะพัฒนาศักยภาพเพียงบางด้านของบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
- จัดให้มี “สถาบันวิจัย” ตามสถาบันอุดมศึกษาโดยเฉพาะที่มีโรงเรียนแพทย์ ทั้งแบบครบทุกด้าน หรือบางด้าน ตามความถนัด หรือ ตามความพร้อม ของ แต่ละสถาบัน ให้ครบทุกภูมิภาค เพื่อเป็นแหล่งที่จะ สร้างและศึกษา “องค์ความรู้ใหม่” หรือ ผลิต “นวัตกรรม” และ พัฒนาต่อยอดยกระดับ “องค์ความรู้เดิม” ที่จะใช้ในการ ยกระดับศักยภาพ และ พัฒนาคุณภาพชีวิต อันเป็น “องค์ความรู้” ที่ ชุมชน ประชาคม “หน่วยงาน” และ “สถานศึกษา” ที่ให้บริการด้านต่างๆ แก่บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ นอกสถาบันวิจัยฯ สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการยกระดับศักยภาพและคุณภาพชีวิตของบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
- ยกระดับศักยภาพ ของ คณะหรือภาควิชาที่ผลิตบุคลากรทางด้านการบำบัด ให้มีศักยภาพที่จะผลิตนักบำบัด เช่น นักฝึกพูด นักกิจกรรมบำบัด ฯลฯ ได้มากขึ้น
- ปรับหลักสูตร เพิ่ม กระบวนวิชาที่ให้องค์ความรู้เกี่ยวกับบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ โดยให้เป็นกระบวนวิชาบังคับเรียน ใน หลักสูตรการผลิตบุคลากรทุกประเภท เพื่อให้ บุคลากรวิชาชีพต่างๆ อันเป็น “ผลผลิต” ของ สถาบัน มีความรู้ความใจเกี่ยวกับบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ใน บริบทวิชาชีพ ของตน เมื่อบุคลากรนั้นๆ ออกจบจากสถาบันกลับสู่สังคมชุมชน
- ผลิตบุคลากรวิชาชีพแพทย์เฉพาะทางที่เกี่ยวข้องเพิ่มปีละไม่ต่ำกว่า 10 คน ได้แก่ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ประสาทวิทยาแพทย์ กุมารแพทย์
- ผลิตนักบำบัด เช่น นักฝึกพูด นักจิตวิทยา นักกิจกรรมบำบัด นักกายภาพบำบัด ฯลฯ ปีละไม่ต่ำกว่าประเภทละ 50 คนขึ้นไป
- ผลิตบุคลากรวิชาชีพครูที่สอนบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ได้ปีละไม่ต่ำกว่า 5,000-10,000 คน
- จัดตั้งกองทุนเพื่อจัดส่งบุคลากรที่จำเป็นไปศึกษาต่อและอบรมเชิงลึก และการอบรมระยะสั้น ในต่างประเทศ
-ในส่วนที่จะเปิดสถาบันวิจัย ๆ ละ 10-15 ทุน ตลอดหลักสูตร ตามความจำเป็นจริงแต่ละด้านของแต่ละสถาบัน
-ในส่วนอบรมดูงานระยะสั้น ทั่วไป จำนวนปีละ 50-100 ทุน
-ในส่วนของ “ห้องสอนเสริมการศึกษาพิเศษ” ให้จัดโควตาให้ บุคลากรครูผู้สอนบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ ที่มีผลงานดีเด่น ไป ฝึกอบรมระยะสั้น/เขตพื้นที่ละ ๒ คน/ครั้ง/ปี ช่วงปิดเทอม และเรียนต่อเชิงลึก ปีละ 2-5 ทุน/ปี
-ในส่วนของ “แผนกการอาชีพสำหรับนักเรียน/นักศึกษาที่เป็นบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้” ตามสถาบันการศึกษาระดับอาชีวะศึกษาทั่วไป ให้จัดโควตาศึกษาอบรมระยะสั้นให้แก่บุคลากรครูผู้สอนที่มีผลงานดีเด่น จำนวน 5-10 ทุนต่อปี ศึกษาอบรมเชิงลึกหรือศึกษาต่อ ปีละ 2 -5 ทุน
-ให้จัดโควตาศึกษาอบรมระยะสั้นให้แก่ บุคลากรครูอาสาผู้สอน ที่มีผลงานดีเด่น เกี่ยวกับการจัดการศึกษาของกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ จำนวน 5-10 ทุนต่อปี ศึกษาอบรมเชิงลึกหรือศึกษาต่อ ปีละ 2 -5 ทุน
-ให้จัดโควตาศึกษาอบรมระยะสั้นให้แก่ บุคลากรครูผู้บริหารศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน ทั้งระดับจังหวัดและระดับอำเภอ ที่มี ผลงานดีเด่น เกี่ยวกับการจัดการศึกษาของกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ จำนวน 5-10 ทุนต่อปี ศึกษาอบรมเชิงลึกหรือศึกษาต่อ ปีละ 2 -5 ทุน
- ร่วมกับ องค์กรผู้ปกครอง จัดอบรม องค์กรผู้ปกครอง อบรม ผู้ปกครอง ให้มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลช่วยเหลือบุตรหลานที่เป็นบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ จังหวัดละ 100 คน/ครั้ง/ปี
-ร่วมกับ เขตพื้นที่การศึกษา จัดอบรม ครู/ผู้บริหารสถานศึกษาบางส่วน ให้ ตระหนักรู้ และมี เจตคติที่ดี ต่อ บุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ และครอบครัว ให้ทั้ง 175 เขต ใน 76 จังหวัด ปีละ 2 ครั้ง
กลุ่มบุคคลที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ได้ประมาณการค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นข้อพิจารณา โดยประมาณการณ์ค่าใช้จ่าย ปี 2549 จำนวน 227.46 ล้านบาท ปี 2550 จำนวน 302.36 ล้านบาท ปี2551 จำนวน 352.81 ล้านบาท ปี 2552 จำนวน 305.79 ล้านบาท และปี 2553 จำนวน 45.00 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 1,233.42 ล้านบาท

วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2552

ใบงานที่ 3 - 5

ใบงานที่ 3
- ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม 5 คน ในการค้นคว้าเรื่องการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมสำหรับกลุ่มบกพร่องต่างๆ เช่น LD,การเห็น,สติปัญญา,พฤติกรรมและอารมณ์,พิการซ้อน (เอกอินโดจีน)
- นักศึกษาทำแบบประเมินผลออนไลน์สำหรับเรื่องการบกพร่องต่างๆสำหรัเด็กอายุ 5 - 18 ปีนะครับ พร้อมทั้งพิมพ์ไฟล์ PDF และประเมินด้วยตนเอง ประเมินตามความจริง ( เอกการศึกษาพิเศษ)
ใบงานที่ 4
ให้นักศึกษาหำแบบฝึกหัดของมหวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา http://www.nrru.ac.th/web/special_edu/index.html ในบทเรียนต่างๆ เริ่มทำข้อสอบวันที่ 10 มกราคม - 18 มกราคม ณ ห้องคอมพิวเตอร์ศึกษา ถ้าลงล่าช้าอาจจะไม่ได้คแนนนะครับ
ใบงานที่ 5
ให้นักศึกษาไปดูภาพยนตณ์ เรื่อง Forest Gumb บกพร่องสติปัญญา ณ ห้องศูนย์การศึกษาพิเศษ ห้อง เรียนพิเศษสำหรับเด็กออทิสติก (ห้องเรียนชั่วคราว) เวลา 13.00 - 15.30 น.
พร้อมสรุปงานส่งที่ห้องศูนย์การศึกษาพิเศษนะครับ ห้องนักจิตวิทยานะครับ

สำหรับใบงานที่ 3 กำหนดส่ง 17 มกราคม 2551 ณ ห้องพกครูชั้น 3 ห้องเรียน 1 โต๊ะสุดท้ายนะครับ
สำหรับใบงานที่ 5 ให้หัวหน้าชั้นเรียนแจ้งใบงานให้ทราบ แล้วส่งโต๊ะห้องนักจิตวิทยา ที่ห้อง 18 ชั้น 2 ห้องสุดท้าย โต๊ะแรกเลยนะครับ

ส่วนงานแบบฝึกหัดไปรับงานที่ห้องอาจารย์นักจิตวิทยา เรื่อง LD นะครับ ข้อมูลให้นักศึกษาดูข้อความให้ไปเปิดในเว็บไซด์ในแบฝึกหัดที่ 1 (ใบงานที่ 1.2) นะครับ

วันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การช่วยเหลือเรื่องการอ่าน
นักการศึกษาได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการอ่านและการสะกดคํา 2 แนวคิด คือ
การอานและการสะกดคําเริ่มต้นจากการรู้จักคําไปสูการอานเพื่อความเขาใจ
การอานและการสะกดคําเริ่มต้นจากการเข้าใจความหมายของเรื่องหรือคําลงไปสูการรูจักคําหรือจําคําความสามารถในการอ่านจากแนวคิดแรกมี 2 ระดับ คือ การอ่านฟังเสียงหรือการจําคํา (Word recognition) และการอ่านเพื่อความเข้าใจ (Comprehension) การจําคํา (Word recognition) มี 7 ลําดับ ดังนี้
ลําดับที่ 1 จํารูปร่างของตัวอักษรได (การจําแนกโดยใชสายตา)
ลําดับที่ 2 จําเสียงพยัญชนะและเสียงสระได (การจําแนกเสียง)
ลําดับที่ 3 อ่านออกเสียงสระและพยัญชนะได
3.1 พยัญชนะเดี่ยว, พยัญชนะควบกล้ำ
3.2 สระเสียงสั้น, สระเสียงยาว, สระผสม
3.3 วรรณยุกต
ลําดับที่ 4 อ่านส่วนของคําได
ลําดับที่ 5 อ่านคําได

วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2551

แบบฝึกหัดบทที่ 1 (1.2-1.3)

แบบฝึกหัดบทที่ 1.2
จงตอบคำถามในหัวข้อแสดงความคิดเห็นนะครับ
ข้อ 1 ให้ยกตัวอย่างบุคคลมา 1 ตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับเด็กทีมีปัญหาการเรียนรู้
ข้อ 2 ด้านการช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ในประเทศไทยมีบุคลากรด้านใดบ้าง
ข้อ 3 หลักการใดที่ต้องช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้
ข้อ 4 วิธีใดที่เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ต้องมีการช่วยเหลือเป็นพิเศษ
ข้อ 5 วิธีใดที่เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้มีความรู้สึกไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
ข้อ 6 IEP มีความสำคัญอย่างไรเกี่ยวกับเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้
ข้อ 7 เทคนิคใดที่สามารถฝึกให้แก่เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้
ข้อ 8 ส่วนประกอบของแผนการเรียนการสอนเฉพาะบุคคล (IEP) มีความสำคัญอย่างไร
แบบฝึกหัดที่บทที่ 1.3
ข้อ 1 ให้นักศึกษาสรุปลงไปในบล็อกเกี่ยวกับด้านสมาธิสั้น เว็บไซด์ http://www.adhdthai.com พร้อมทั้งอ้างอิงจากเว็บไซด์ด้วย พร้อมทั้งหาแบบสอบถามเกี่ยวกับเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ด้วย โดยส่งทาง notto_35@hotmail.com มาด้วย กำหนดส่งวันที่ 7 ธันวาคม เนื่องจากหยุดชดเชยวันพ่อแห่งชาติ เลยเลื่อนไปอีกจึงให้นักศึกษาส่งในวันที่ 14 ธันวาคมนะครับ