วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2551

แบบฝึกหัดบทที่ 1 (1.2-1.3)

แบบฝึกหัดบทที่ 1.2
จงตอบคำถามในหัวข้อแสดงความคิดเห็นนะครับ
ข้อ 1 ให้ยกตัวอย่างบุคคลมา 1 ตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับเด็กทีมีปัญหาการเรียนรู้
ข้อ 2 ด้านการช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ในประเทศไทยมีบุคลากรด้านใดบ้าง
ข้อ 3 หลักการใดที่ต้องช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้
ข้อ 4 วิธีใดที่เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ต้องมีการช่วยเหลือเป็นพิเศษ
ข้อ 5 วิธีใดที่เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้มีความรู้สึกไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
ข้อ 6 IEP มีความสำคัญอย่างไรเกี่ยวกับเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้
ข้อ 7 เทคนิคใดที่สามารถฝึกให้แก่เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้
ข้อ 8 ส่วนประกอบของแผนการเรียนการสอนเฉพาะบุคคล (IEP) มีความสำคัญอย่างไร
แบบฝึกหัดที่บทที่ 1.3
ข้อ 1 ให้นักศึกษาสรุปลงไปในบล็อกเกี่ยวกับด้านสมาธิสั้น เว็บไซด์ http://www.adhdthai.com พร้อมทั้งอ้างอิงจากเว็บไซด์ด้วย พร้อมทั้งหาแบบสอบถามเกี่ยวกับเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ด้วย โดยส่งทาง notto_35@hotmail.com มาด้วย กำหนดส่งวันที่ 7 ธันวาคม เนื่องจากหยุดชดเชยวันพ่อแห่งชาติ เลยเลื่อนไปอีกจึงให้นักศึกษาส่งในวันที่ 14 ธันวาคมนะครับ

แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน

แบบฝึกหัดบทที่ 1
จงตอบคำถามในหัวข้อแสดงความคิดเห็นนะครับ
ข้อ 1 ให้นักศึกษาบอกความหมายเกี่ยวกับเด็ก LD
ข้อ 2 จงอ่านบทความต่อไปนี้ แล้วตอบคำถามต่อไปนี้
”การศึกษาไทยของการปฏิรูปการศึกษา ขั้นพื้นฐานประจำปี พ.ศ. 2544 สำหรับเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้สามารถเรียนรู้เท่าเทียบกับเด็กปกติได้ แต่เขาก็ยังมีความบกพร่องหลายๆอย่าง แต่ในปัจจุบันเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้มักจะถูกสังคมเอาเปรียบจนทำให้เด็กบางมีตราประทับตราตรึงว่าเป็นปัญญาอ่อน ทั้งที่เด็กมีความฉลาดและเหมือนเด็กทั่วไป แต่เขาเป็นเด็กสมาธิสั้นด้วย จนทำให้เด็กมีปัญหาด้านอารมณ์และสังคมด้วย เด็กบางคนก็รู้สึกว่าด้อยกว่าเด็กอื่นๆ ในโรงเรียนหลักสูตรมักจะสอนเด็กให้มีแต่ความรู้จนเด็กเป็นเด็กปัญญาเลิศทั้งหมด จนทำให้เด็ก LD กายเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมในอนาคต”
จากคำถามนักศึกษามีความรู้สึกอย่างไร และมีทางแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง
ข้อ 3 จงบอกประเภทและลักษณะที่แสดงออกมาของเด็ก LD
ข้อ 4 จงบอกกระบวนการเรียนรู้ของเด็กทางจิตวิทยาการศึกษาไดใชรูปแบบไซเบอร์เนติค
ข้อ 5 ให้นักศึกษาเขียนความรู้สึกเกี่ยวกับเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้และทดสอบวัดไอคิวของนักศึกษาด้วย โดยจะให้นักศึกษาทำแบบทดสอบเกี่ยวกับด้านการอ่าน การเขียน การคำนวณและด้านอารมณ์นะครับ เพราะจะให้นักศึกษาวัดระดับว่าอยู่ในระดับใดเพื่อที่นักศึกษาจะเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ต่อไป

วันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2551

กระบวนการเรียนรู้ของเด็ก LD

เรามาทําความเขาใจเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ของเด็ก ทางจิตวิทยาการศึกษาได้ใชรูปแบบไซเบอร์เนติค (Cybernatics model) อธิบายการเรียนรู้ โดยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. ข้อมูลจากประสาทสัมผัสจะเข้าสู่สมองเพื่อบันทึก (Input process)
2. ข้อมูลจะถูกแปลความหมายและจัดเก็บ (Integration)
3. ข้อมูลจะถูกบันทึกและสามารถดึงมาใช้ได้ (Memory process)
4. ข้อมูลจะถูกนํามาใช้ในรูปแบบของภาษาและการเคลื่อนไหว (Output process)
เมื่อเราอ่านหนังสือ ดูรูปภาพ ฟังเสียง หรือสัมผัสอักษรเบลล์ ข้อมูลที่ได้รับจะถูกส่งไปยังสมอง จากนั้น
ข้อมูลจะถูกแปลความหมายและจัดเก็บในหน่วยความจํา และสามารถดึงข้อมูลมาใช้ได้ในยามที่ต้องการ โดยอาจออกมาในรูปการคิด การพูด การอ่าน การเขียน และการเคลื่อนไหว คล้ายสมองกลในคอมพิวเตอร์ โดยปกติเมื่อมองรูปภาพหรืออ่านหนังสือ คนเราจะแยกภาพหรือ
ตัวอักษรออกจากพื้นรู้ตําแหน่งทิศทางของภาพและสามารถกะความลึกของภาพ 3 มิติได้ เช่นเดียวกับการฟังที่เราจะต้องแยกแยะเสียงที่ต้องการฟังออก จากเสียงรบกวน หรือเสียงธรรมชาติอื่น ๆ จากนั้นภาพและเสียงจะถูกบันทึกในสมองผ่านกระบวนการแปลง
สัญญาณ (Coding) และดึงข้อมูลจากหน่วยความจํามาใช้ในการเขียนการอ่านผ่านกระบวนการแปลข้อมูลกลับ (Decoding) ในที่สุด
เด็กที่มีความบกพร่องด้านการเรียนรูปอาจมีปัญหาที่ใดที่หนึ่งใน 4 ขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้น ได้แก่
ความบกพร.องในการจัดวางตําแหน่งและรูปร่างของสิ่งที่เห็น เช่น ม เป็น น 3 เป็น E สถิต เป็น
สติถิ เป็นต้น
ความบกพร่องในการโฟกัสภาพ ทําให้อ่านข้ามคํา ข้ามประโยค อ่านซ้ำประโยค
ความบกพร่องในการกะระยะ ทําให้ซุ่มซามเดินชนโน้นนชนนี่ได้ง่ายหรือมีความยากลําบากในการ เล่นกีฬา เด็กไม่สามารถเตะลูกบอล ตีลูกเทนนิส หรือโยนลูกบาสได้อย่างถูกต้อง
ความบกพร่องในการแยกเสียง เด็กจะเขียนคําพ้องเสียงหรือคําอื่น ๆ ที่เสียงคล้ายกันลําบาก เช่น อาการ-อาจารย์
ความบกพร่องในการเรียงลําดับเหตุการณ์ เด็กไม่สามารถเล่าเรื่องที่ตนเองพบเห็นไดอย่างถูกต้อง ตามลําดับเหตุการณ์ และเมื่อถามว่าพรุ่งนี้เป็นวันอะไร เด็กจะต้องพูดไล่เรียงตั้งแต่วันอาทิตย์ วัน จันทร์ไปเรื่อย ๆ
ความบกพร่องเรื่องความจํา จะเห็นว่าเด็ก LD สอนวันนี้ วันพรุ่งนี้ลืม จําคําศัพท์ได้จํากัด หรือเวลาสั่งให้ไปซื้อของ 3 อย่าง ซื้อกลับมาได้อย่างเดียว ดังนั้น ต้องให้ทวนซ้ำ2-3 ครั้ง
ความบกพร่องด้านภาษา เด็กบางคนพูดช้า พูดไม่ชัด มีภาษาพูดจํากัด
ความบกพร่องดานการใช้มือ เชน หยิบจับ ติดกระดุม ผูกเชือกรองเท้าได้ลําบาก เป็นต้น
ความบกพร่องในการแปลงสัญญาณ (decoding) เมื่อให้อ่าน-เขียน เด็กจะทําได้ค่อนข้างช้าหรือทําได้ด้วยความยากลำบาก แต่เมื่อถาม ตอบปากเปล่า เด็ก LD จะตอบได้ค่อนข้างดี
(อ้างอิง ชมรมผู้ปกครองบุคคลสมาธิสั้น จดหมายฉบับเดือนธันวาคม - มกราคม 2551)

วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2551

การช่วยเหลือเด็ก LD

การช่วยเหลือเด็ก LD
การช่วยเหลือที่สําคัญที่สุด คือการจัดการศึกษาพิเศษในรูปแบบที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละรายปัจจุบันประเทศไทยยังมีครูการศึกษาพิเศษไม่เพียงพอกับความต้องการของเด็ก ดังนั้นการช่วยเหลือเด็ก LD จะต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างครูการศึกษาพิเศษ ครูประจําชั้น นักจิตวิทยา และผู้ปกครอง
การจัดการเรียนการสอน
การจัดการเรียนการสอนจําเป็นต้องทําแผนการเรียนการสอนเฉพาะบุคคลที่เรียกว่า Individual EducationPlanning (IEP) โดยจัดทําเป็นเทอมหรือเป็นปีก็ได้ มีการกําหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนอย่างเป็นขั้นตอนและกําหนดกลวิธีที่จะไปถึงเป้าหมายนั้นด้วย ควรเขียนในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและนําไปปฏิบัติได้
ส่วนประกอบของแผนการเรียนการสอนเฉพาะบุคคล (IEP)
ข้อมูลความสามารถ หรือระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เทียบเท่ากับระดับชั้นใด เช่น เด็กเรียนชั้น
ป. 3 อาจมีความสามารถทางการอ่านการเขียนอยู่ในระดับชั้น ป. 1 และความสามารถทางคณิตศาสตร์ในระดับชั้น ป. 2 เป็นต้นเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ควรวางแผนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
กําหนดเกณฑ์และมีการประเมินว่าเด็กทําได้ตามวัตถุประสงค์หรือไม่ในการจัดการเรียนการสอน งานวิจัยทางการศึกษาพบว่าหากครูนําหลักการสอนที่ถูกต้องและเหมาะสมไป
ใช้ จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ หลักการที่เหมาะสมมีดังนี้
หลักการทั่วไป
1. สอนจากสิ่งที่ง่ายที่สุด การเริ่มต้นที่ดีควรเริ่มในระดับที่ต่ำากว่าความสามารถของเด็กเล็กน้อย ทั้งนี้เพื่อให้เด็กรู้สึกว่าตนประสบความสําเร็จในการเรียน ทําให้เด็กมีกําลังใจที่จะเรียนในระดับที่ยากขึ้นต่อไป
2. สอนจากสิ่งที่เด็กคุ้นเคยไปหาสิ่งที่ไม่คุ้นเคย เด็กสามารถเข้าใจบทเรียนได้ง่ายถ้าครูเริ่มต้นจากสิ่งที่เด็กคุ้นเคย จากนั้นสอนเพิ่มเติมในสิ่งที่เด็กไม่คุ้นเคย
3. ให้โอกาสเด็กเลือกเรียน เด็กควรมีโอกาสเลือกเรียนหรือเลือกทํากิจกรรมที่ตนเองสนใจ
4. ให้เด็กมีความสุขในการเรียน เด็กที่มีความสุขในการเรียนจะมองตนในแง.ดีและสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนและครูได้
5. ใช้ประสบการณ์ตรง ครูควรเปิดโอกาสให็เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงในเรื่องนั้น ๆวิธีการนี้จะช่วยให้เด็กเข้าใจบทเรียนได้ง่ายขึ้น รวมถึงการให้เด็กมีโอกาสศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง
6. ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ตามขีดความสามารถของตน การเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพควรจัดให้สอดคล้องกับความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก เพราะเด็กแต่ละคนจะมีความก้าวหน้าในการเรียนไม่เหมือนกันและใช้เวลาเรียนในเรื่องเดียวกันแตกต่างกัน ดังนั้นเด็กพิเศษอาจต้องสอนเป็นรายบุคคล สอนกลุ่มเล็ก ติวก่อนเข้าเรียนหรือสอนเสริมหลังเลิกเรียน ซึ่งขึ้นอยู่กับความพร้อมของเด็กและครูผู้สอน จําเป็นต้องใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบผสมผสานกัน
7.ใช้แรงเสริมอย่างมีประสิทธิภาพ เด็กต้องการกําลังใจจากครูอย่างสม่ำเสมอ คําชมจากครูจึงเป็นสิ่งสําคัญเพียงแต่ครูพูดว่า “ดี ดีมาก ถูกต้อง” หรือแม้แต่ ให้ “แต้มดาว” จะช่วยใฟ้เด็กมีกําลังใจและพยายามมากขึ้น
8. กระตุ้นให้เด็กใช้ความคิด ลักษณะการเรียนการสอนควรเปิดโอกาสให.เด็กได้ร่วมแสดงความคิดเห็น เช่น
8.1 สถานการณ.สมมุติ ครูอาจสร้างสถานการณ.สมมติเพื่อให้เด็กร่วมแสดงความคิดเห็น
8.2 ครูให้การบ้านที่เด็กสามารถหาคําตอบได้หลาย ๆ คําตอบ
8.3 วิธีถามตนเอง ครูอาจกระตุ้นให้เด็กตั้งคําถามเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน เช่น เรื่องราวเกี่ยวกับอะไร
โจทย์ถามอะไร วิธีทําอย่างไร
9. ให้เด็กเรียนจากเพื่อน เด็กเก่งอาจช่วยครูอธิบายบางวิชาให้เพื่อนฟัง หรือเพื่อนช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้แก้เพื่อนที่นั่งใกล้ ๆ
10. แจ้งผลการเรียนให้เด็กทราบโดยเร็ว ช่วงแรก ๆ เด็กจะกระตือรือร้นอยากทราบคําตอบ เมื่อพบว่าเด็กตอบผิดครูควรบอกให้เด็กทราบ ช่วยเหลือเด็กได้ปรับปรุงแก้ไขและอธิบายเพิ่มเติมในสิ่งที่เด็กไม่เข้าใจ
11. ให้ทบทวนบทเรียนบ่อย ๆ โดยให้เด็กสรุปสิ่งที่เรียนมาแล้ว นําบทเรียนมาทบทวนบ่อย ๆ ในรูปกิจกรรมอื่น
12. สอนโดยการเน้นย้ำา เชื่องโยงกับวิชาอื่นด้วย เด็ก LD จะเรียนรู.ช.า มักเรียนได้หน้าลืมหลัง ครูอาจใช้วิธีเชื่อมโยงบทเรียนกับวิชาอื่น ๆ เพื่อเน้นนย้ำให้เด็กเข้าใจบทเรียนและจําได้แม่นยําขึ้น
13. จัดห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียน เด็กที่มีความบกพร่องด้านการเรียนรู้มักมีสมาธิสั้นร่วมด้วย ดังนั้นห้องเรียนควรมีผนังกั้นทั้ง 4 ด้าน จัดห้องให้เป็นระเบียบ สวยงาม และมีเสียงรบกวนจากภายนอกน้อยที่สุดเพื่อไม่ให้เด็กวอกแวกง่าย
14. ใช้คําสั่งที่สั้นและเข้าใจง.าย ครูควรใช้คําสั่งสั้น ๆ ที่เข้าใจง่าย นําไปปฏิบัติได้
15. มองหาจุดเด่น-จุดด้อยเด็ก ส่งเสริมให้เด็กแสดงความสามารถพิเศษหรือเป็นคนเก่งในจุดที่เขามีศักยภาพ
16. ให้เด็กมีโอกาสแสดงความเป็นผู้นํา เพื่อให้เด็กพัฒนาความเป็นผู้นํา
หลักการเฉพาะ
1. เทคนิคการจําคํา (Word recognition)
2. เทคนิคการสะกดคํา
2.1 การดู-ปิด-เขียน-ตรวจสอบ เริ่มด้วยลอกคําศัพท์ที่ยาก หรือคําที่มักเขียนผิดบ่อยหรือคําศัพท์ท้ายบท จากนั้นลองปิดสมุดเขียนคําศัพท.จากความจําตอมาบอกให้เขียน ตรวจสอบแล้วแก้ไขคําผิด
2.2 การใช้หลักภาษา ให้เด็กใช้หลักภาษาจนขึ้นใจ ฝึกอ่านและเขียนตามหลักภาษา ถ้าคําใดเป็น
ข้อยกเว้นให้ใช้วิธีการ จํา เพื่อชดเชยข้อบกพร่อง
3. เทคนิคการฟัง-พูด-อ่าน-เขียน การเรียนการสอนโดยใช้ประสบการณ.ทางประสาทสัมผัสหลาย ๆ ด้านไปด้วยกัน (Multisensory experience) เช่น การได้ยิน การเห็น การสัมผัสด้วยมือไปพร้อม ๆ กัน
( อ้างอิงมาจากชมรมผู้ปกครองสมาธิสั้นแห่งประเทศไทย จดหมายข่าวเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2551 )

วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ความหมายของเด็ก LD

ความหมายของเด็ก LD หมายความว่าอะไร
LD หมายความว่าอะไร เป็นคำถามที่ดีจริง ๆ คนบางคนบอกว่า LD มาจากคำว่า (Learning Disabled) คือคนที่ไร้ความสามารถในการเรียนรู้ บางคนก็ว่าน่าจะเป็น (Learning Difficulties) คือ มีปัญหายุ่งยากในการเรียนรู้ แต่บ้างก็ว่าหมายถึง (Learning Different) ซึ่งหมายถึง การเรียนรู้ที่แตกต่างออกไปเราไม่อาจตัดสินความหมายนี้สำหรับทุก ๆ คนได้ แต่เรารู้ว่าสำหรับตัวเรามันน่าจะหมายถึงอะไร เมื่อเราพูดว่า LD เราหมายถึง “ การเรียนรู้ที่แตกต่างออกไป ”ทุกคนมีวิถีทางในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน เด็กบางคนเรียนรู้ที่จะอ่าน คือ อ่านหนังสือได้ตั้งแต่อายุ 4 ขวบแต่บางคนก็ยากเย็นแสนเข็ญกว่าจะอ่านได้ ส่วนเด็กบางคน แม้จะเป็นเด็กอ่านหนังสือได้เก่ง
ก็อาจมีปัญหาอย่างอื่น เช่น คณิตศาสตร์น้อยคนนักที่จะมีปัญหาการเรียนที่โรงเรียนไปเสียทุกอย่าง ส่วนมากก็จะมีดีในเรื่องอื่น ๆ อยู่บ้าง เช่น เล่นวีดีโอเกมบ้าง วาดรูป ปั้น หรือทำงานในสนาม เช่น ปลูกต้นไม้เก่งการที่เด็ก LD ต้องเหนื่อยยากต่อการเรียนรู้มิได้หมายความว่าเขาจะเป็นเด็กโง่ แต่เพียงเพราะเขาเรียนรู้ในแบบที่แตกต่างไปจากเด็กคนอื่น ๆ LD สำหรับหลาย ๆ คน หมายถึง การไร้ความสามารถในการเรียนรู้คนเหล่านี้คิดว่าการที่เป็น LD ก็คือคนที่ไม่อาจเรียนรู้ได้ แต่อีกหลายคน คิดว่า LD หมายถึง การเรียนรู้ที่แตกต่างคนที่เป็น LD
จึงเป็นเพียงคนที่มีความแตกต่างในเรื่องการเรียนรู้ เกเร ฟีชเชอร์ (Gary Fisher, 1990) ผู้เชี่ยวชาญการศึกษาพิเศษเกี่ยวกับเด็ก LD แห่งมหาวิทยาลัยเนวาดากล่าวว่า “ ครั้งหนึ่งฉันกำลังทดสอบเด็กผู้ชายอายุ 7 ขวบคนหนึ่ง ซึ่งเรียนอยู่ชั้น ป. 2 และมีทีท่าว่าเป็นเด็กฉลาด แต่ผลการทดสอบพบว่า เขาเป็น LD หลังจากเสร็จสิ้นการทดสอบ ฉันได้อธิบายให้เด็กฟังถึงความหมายของการมี LD เมื่ออธิบายจบเด็ก
ก็จ้องมาที่ฉันน้ำตาคลอ และถามว่า แล้วทำไมผมอ่านหนังสือไม่ได้? ”เขาจึงได้เขียนหนังสือชื่อ “ The Survival Guide for Kids with LD ” เพื่อตอบคำถามทำนองนี้ แก่เด็กที่มีคำถามทำนองเดียวกัน เพื่อช่วยให้เด็ก LD ที่มีคำถามเกี่ยวกับเรื่องโรงเรียน เพื่อน ๆ และอนาคตเหนือสิ่งอื่นใดก็คือ เราต้องการช่วยให้คุณรู้ว่าคุณมิได้อยู่โดดเดี่ยวเลย
LD ไม่ได้หมายความอย่างไร
การจะบอกว่า LD หมายความว่าอะไรนั้นค่อนข้างยาก แต่ทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่า LD ไม่ได้หมายความ
ถึงเรื่องต่อไปนี้
- ไม่ได้หมายความว่า คุณ เป็นปัญญาอ่อน
- ไม่ได้หมายความว่า คุณ เป็นคนโง่
- ไม่ได้หมายความว่า คุณ เกียจคร้าน
- ไม่ได้หมายความว่า คุณ จะมีรายได้น้อยจากการทำงานเมื่อโตขึ้น
คุณอาจภาวนาขออย่าให้มี LD ที่คุณ แต่ถ้ามีก็อย่ายอมให้ LD หยุดยั้งคุณจากการเป็นคนดีที่สุดที่คุณจะ เป็นได้ก็แล้วกัน
ความจริง คุณอาจแปลกใจที่พบว่า ปัญหาหลาย ๆ อย่างดูจะดีขึ้นหลังจากคุณออกจากโรงเรียนแล้วโรดา (Cummings, Rhoda) อาจารย์ประจำภาควิชาการศึกษาพิเศษ จากมหาวิทยาลัยเนวาดาที่มีลูกชายเป็น LD กล่าวว่า “ คาร์เตอร์ ลูกชายของฉันเป็น LD และออกจากโรงเรียนมา 3-4 ปีแล้ว ตอนนี้ฉันเคยถามเขาว่า รู้สึกอย่างไรที่มี LD อยู่กับตัว เขาบอกว่า ‘ไม่รู้สิ ตั้งแต่ฉันออกจากโรงเรียนแล้วก็ไม่ค่อยได้นึกถึงมันเท่าไร’ ” หาคำตอบจากหนังสือเล่มนี้ :
1. ทำไมเด็ก LD จึงมีปัญหายุ่งยากทางการเรียนรู้
2. เด็ก LD จะทำอะไรได้บ้างเกี่ยวกับปัญหาเรื่อง LD
3. เด็ก LD เป็นปัญญาอ่อนไหม
4. ทำไมเด็ก LD จึงมีปัญหาหนักใจเมื่ออยู่ในโรงเรียน
5. ทำไมเด็กอื่น ๆ ยังไม่ค่อยเข้าใจเด็ก LD
6. เมื่อเขาโตขึ้นเด็ก LD จะเป็นอย่างไร
หนังสือเล่มนี้อาจตอบคำถามทั้งหมดได้ไม่ชัดเจน แต่เราคิดว่าคำตอบที่มีจะช่วยให้คุณเข้าใจตัวเองดีขึ้นและคงให้แนวคิดที่จะนำไปปฏิบัติเพียงช่วยให้เด็กดีขึ้น และช่วยให้คุณพร้อมที่จะก้าวต่อไปเรื่องค้างคาใจ สำหรับเด็ก LD 6 ประการเด็ก LD หลายคนบอกเราเกี่ยวกับปัญหาที่เขาเผชิญอยู่ต่อไปนี้คือ ปัญหา 6 อย่างที่ทำความรำคาญให้กับเขามากที่สุด
1ไม่มีใครอธิบายว่า LD คืออะไร เขาต้องใช้เวลามากมายกังวลกับชื่อนี้โดยไม่รู้ว่ามีอะไรที่ผิดพลาดเกิดขึ้นกับเขา
2เมื่ออยู่ที่โรงเรียน เรารู้สึกสับสนว่า เราควรต้องทำอะไร
3พ่อแม่ ครู และเด็กคนอื่น ๆ มักไม่ค่อยมีความอดทนกับเรา
4เราไม่ค่อยมีเพื่อน
5เพื่อน ๆ มักล้อเลียนเรา และทำให้เรารู้สึกลำบากใจ
6เราไม่ชอบให้ใครมาเรียกหรือล้อเลียนว่าเป็นเด็กปัญญาอ่อนหรือเด็กโง
(อ้างอิงจากชมรมผู้ปกครองบุคคลสมาธิสั้นแห่งประเทศไทย จดหมายข่าวฉบับเดือน พฤศจิกายน 2550)